GO!GO! タイローカル工場

第38回 タイヤ工場 N.D. RUBBER PUBLIC COMPANY LIMITED.

工場屋上に太陽電池を設置 温室効果ガス削減に貢献

NDラバー社(NDR)は二輪用タイヤの大手輸出メーカーである。二酸化炭素削減のため工場の屋上には太陽電池を設置。工場内では省エネエネルギーを主としたコスト削減、生産効率向上を進めている。

NDラバーのチャイシット・ソムリッティワニッチャー社長は「すでに工場屋上で太陽電池パネルの設置は終わり、2016年9月から太陽光発電を使っております。発電量は1メガワット(1,000キロワット)、タイ東部では大きめのプロジェクトで5,800平方メートルのエリアをカバーしており、工場におけるエネルギー使用効率が高まりました。日中の電力使用が軽減され、ピーク時の電力量も下がりました。年間500万バーツの電気代が削減されました。以前の年間4,200万バーツのエネルギー経費より12%の低減です。また大気中への温室効果ガス削減に貢献の放出も減らすことができました」と話す。

太陽電池設置の経費は年々下がっている。10年前はキロワット当り15万バーツかかったが、今では3万バーツになった。タイ政府側もエネルギー保護基金でサポートに務める。政府は環境保護と代替エネルギーの推進に力を入れており、将来はさらに大きな発電施設の建設も選択に入れている。

工場屋上での太陽電池設置プロジェクトはエネルギー省の政策に沿ったもので、太陽電池で発電した電力を工場で使用。国のエネルギー構造を変える政策をサポートする。エネルギー省の代替エネルギー開発計画(AEDP)をベースに、太陽光発電の比率を上げることに貢献する。

今年の事業戦略と計画についてチャイシット社長は「今年は3,000万~5,000万バーツを投資します。この投資で工場の自動化を進めます。労務コストの削減が狙いです。効率化による競争力の増強で利益体質をさらに高めます。これまでコスト全体の労務コストは17%を占めましたが、これを12%に低減することができます。自動化では昨年、3つのポイントに力を入れて、年間180万バーツの経費を削減しました。今年は500~1,000万バーツの削減が目標です。将来の利益体質を得るため、大いに投資を進めます」と話す。

また、今年の下半期は国内外の売上高を増進させる。とくにベトナム、インドネシア、カンボジア、ラオス、マレーシアへの輸出に力を入れる。投資の効率化も進める。

「もっと収益率の高い投資です。今年は10億バーツが目標です。国内はもう競争が激しく、当社は輸出が大きいのでリスク分散ができており、なんとかしのいでいます。今年の売上は輸出が60%、国内販売が40%と見ています。以前は50%対50%でした。今後は売上増をめざすプロモーションを進めます。今年は増収増益となるでしょう」。

国内市場には二輪用タイヤに力を入れる。タイの道路事情に適した、ストリ-トタイプのタイヤを投入する。濡れた路面も安全・快適で耐用年数も長く、またスクータータイプでもニーズに応じた優れた走りを保証する。さらにオフロードタイプも各種レベルの高い設計がなされている。堅牢なタイヤが路面をキャッチし、でこぼこ道でも濡れた道でも安全走行が可能。新たなイノベーションによるエアーロックが威力を発揮する。

「当社の製品は、バイクおよびモペット向け空気タイヤとしてタイ工業規格(TIS)をクリアしております。NDラバー製品の大きなギャランティーです。消費者の安全を第一とする当社製品の品質と基準のベースになります」。

NDR ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ผลิตไฟฟ้าใช้จ่ายภายในโรงงาน

บริษัท เอ็น.ดี. รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NDR เป็นผู้ผลิตยางรถจักรยานยนต์เพื่อการส่งออกรายใหญ่ของประเทศ มุ่งเน้นการบริหารจัดการต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานภายในโรงงานด้วยการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศและช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณชัยสิทธิ์ สัมฤทธิวณิชชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ดี. รับเบอร์ จํากัด (มหาชน) หรือ NDR กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาแล้วเสร็จและเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 โดยการนำเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์มาติดตั้งบนหลังคาขนาดกำลังการผลิตประมาณ 1,000 กิโลวัตต์(kWp)หรือ 1 เมกะวัตต์ ซึ่งถือเป็นโครงการขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีการติดตั้งครอบคลุมพื้นที่ขนาด ประมาณ 5,800 ตารางเมตร เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในโรงงาน ด้วยการผลิตไฟฟ้านำมาใช้จ่ายภายในโรงงานในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งช่วยลดค่าไฟฟ้าภายในโรงงานในช่วงพีคหรือช่วงเวลาการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของวัน จึงทำให้บริษัทฯ สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ 5 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 12% จากเดิมที่มีภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว อยู่ที่ 42 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ

ทั้งนี้ ด้วยค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมามีการปรับลดราคาลงค่อนข้างมาก จากราคาเดิม 150,000 บาท/กิโลวัตต์ ลดลงเหลือ 30,000 บาท/กิโลวัตต์ โดยจะเห็นว่า ภาครัฐควรเข้ามาส่งเสริมอย่างจริงจัง ผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน และยังส่งผลดีต่อการยืดระยะเวลาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในอนาคตได้อีกทางหนึ่ง

จากความสำเร็จของโครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านำมาใช้ภายในโรงงานได้สอดคล้องกับนโยบายของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ที่ได้ดำเนินการส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนจากนโยบายโซลาร์รูฟเสรี ตามแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(AEDP)ของกระทรวงพลังงาน

ขณะที่ทิศทางและแผนกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจในปี 2562 คุณชัยสิทธิ์ กล่าวว่า เปิดเผยถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2562 ว่า บริษัทฯเตรียมงบลงทุนไว้ที่ 30-50 ล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนปรับเปลี่ยนโรงงานให้เป็นระบบออโตเมชั่น ซึ่งเป็นตามแผนที่ต้องการลดต้นทุนด้านแรงงาน และช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไร รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทฯมีเป้าหมายลดต้นทุนแรงงานเหลือ 12% จากเดิมที่มีต้นทุนแรงงาน 17% ของต้นทุนรวม ทั้งนี้ การลงทุนระบบออโตเมชั่นเป็นการลงทุนต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ที่ได้ดำเนินการติดตั้งปรับเป็นระบบออโตเมชั่นแล้วทั้งสิ้น 3 จุด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 1.8 ล้านบาท/ปี โดยปีนี้ถ้าเป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 5-10 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯได้ในอนาคต

นอกจากนี้ ในครึ่งปีหลังของปี 2562 บริษัทฯ มีแผนกลยุทธ์ที่จะเร่งเพิ่มยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย นอกจากนี้ บริษัทฯยังมุ่งเน้นบริหารจัดการด้านต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันผลประกอบการกลับมาเป็นบวกได้ โดยยังคงตั้งเป้าหมายรายได้ในปีนี้ไว้ที่ประมาณ 1 พันล้านบาท

ขณะนี้ตลาดในประเทศมีการแข่งขันสูง แต่เรายังมีรายได้มาจากต่างประเทศ ทำให้ช่วยลดผลกระทบและกระจายความเสี่ยงของรายได้ได้เป็นอย่างดี โดยตั้งเป้าสัดส่วนรายได้ปีนี้ แบ่งเป็น ต่างประเทศ 60% และในประเทศ 40% จากปีก่อนที่มีสัดส่วนต่างประเทศ 50% และในประเทศ 50% นอกจากนี้เรามีแผนการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการซื้อให้เพิ่มขึ้น ทำให้เชื่อมั่นว่าผลประกอบการในปีนี้จะสามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้

ทั้งนี้ NDR ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางสำหรับรถจักรยานยนต์ออกสู่ท้องตลาดจำนวนมาก อาทิ ยางแบบ STREET เป็นยางที่ถูกออกแบบมาเพื่่อความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย มีคุณสมบัติในการเกาะถนนที่โดดเด่น ทั้งพื้นถนนปกติและถนนเปียก และอายุการใช้งานยาวนาน, ยางแบบ SCOOTER ที่ถูกพัฒนามาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ขับขี่รถสกูตเตอร์ที่ต้องการความมั่นใจในการขับขี่, ยางแบบ OFF ROAD ถูกออกแบบมามาเป็นอย่างดี ด้วยดอกยางที่มีความแข็งยึดเกาะ การตะกุย ในสภาพถนนที่ขรุขระ เปียกลื่น ยางจึงต้องถูกพัฒนามาสำหรับสภาพถนนแบบนี้โดยเฉพาะ, AIR LOCK นวัตกรรมใหม่ที่มาทดแทนยางใน

อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์จากบริษัท เอ็น.ดี.รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NDR ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ประเภทอุตสาหกรรม “ยางล้อแบบสูบลมสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปด” จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการการันตีว่าผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ND Rubber มีมาตรฐานและคุณภาพ รวมถึงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

(2019年9月号掲載)

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事