GO!GO! タイローカル工場

第50回 飲料製造工場 SUNTORY PEPSICO Beverage Thailand

飲料業界のグローバルメーカー 持続可能な成長を目指して事業を展開

サントリーペプシコビバレッジ(タイランド)は、サントリーおよびペプシコブランドとして人気のペプシ、ミリンダ、セブンアップ、リプトン、ゲータレード、アクアフィーナなどの製造・販売を行っている。同社は「Growing for Good」というビジョンのもと、環境負荷の低減と完全自動化による生産能力の向上、持続可能な成長を目指して事業を展開している。  同社のサプライチェーン・ディレクターであるペルムサック・クライソンポーン氏は次のように語る。  「当社は循環型社会の実現に向けて、不断の技術革新により原材料・エネルギーなどの3R(リデュース‐リユース‐リサイクル)の原則を堅持しています。容器包装においては、ペットボトルのさらなる軽量化、ガラスびん・紙容器等での軽量化、樹脂ラベル・紙ラベル・段ボールでの軽量化(リデュース)を実現し、リターナブルびんシステムの維持(リユース)、リペットボトルの活用(リサイクル)も徹底しています。目標は、2025年から2030年までに、100%リサイクル可能な、堆肥化可能または生分解性のあるパッケージに切り替えることです」  同社は飲料工場向けにドイツ製の最新式の機械を取り入れ、完全自動化による生産管理を実現した。最大800本/分の生産能力を持ち、生産工程全体をクローズドシステムで行う。ペットボトルの成形、最新技術を駆使した飲料の混合、キャッピング、ラベル貼り、包装などを世界トップクラスの食品安全基準を持つ工場で行い、消費者にサントリーペプシコの飲料が100%クリーンで安全なものであることを保証する。  同社の工場では、屋根には熱を吸収する素材を使用し、照明には自然光の強さによって自動消灯するエネルギー効率の高いLED照明を導入している。また、エネルギーと水の効率に焦点を当てたインライン技術を設置し、ソーラーパネルの設置など近代的な技術の使用と相まって、電力消費量は前年比14%減少、水資源使用量は35%減少した。  こうした取り組みの結果、同工場は環境を守ることができる「グリーン工場」として認められ、グリーンビルディング認証であるLEEDのシルバー認証を受けた。LEEDは建物の省エネ性能、設計、建設、運営を評価するアメリカ有数のプログラムで、世界160カ国以上の国々で採用されている。  同社は現在、タイ国内にラヨーン工場とサラブリ工場の2つの工場をもち、前者では9本の生産ライン、後者では4本の生産ラインが稼働している。さらに、将来的に消費者のニーズを満たすため、工場拡張用として15億バーツの予算を用意している。

SUNTORY PEPSICO เพิ่มศักยภาพการผลิต ด้วยระบบออโตเมชั่นเต็มรูปแบบ

บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัดผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มยอดนิยมภายใต้แบรนด์สินค้าของซันโทรี่และเป๊ปซี่โคในประเทศไทย เช่น เป๊ปซี่ มิรินด้า เซเว่นอัพ ลิปตัน เกเตอเรด และอควาฟิน่าดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “Growing for Good” ยึดมั่นในหลัก 3R+1T ในกระบวนการทำงาน ก้าวสู่การเป็นโรงงานสีเขียว มุ่งมั่นลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยระบบออโตเมชั่นอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน  นายเพิ่มศักดิ์ ไกรสรพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายซัพพลายเชนบริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย)จำกัด หรือ SPBT เกิดจากการร่วมทุน ระหว่างเป๊ปซี่โคอิงค์บริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำจากประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มซันโทรี่ ผู้นำระดับโลกในธุรกิจเครื่องดื่มจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งซันโทรี่ เป๊ปซี่โคดำเนินงาน
ภายใต้วิสัยทัศน์ “Growing for Good” โดยยึดมั่นในหลัก 3R+1T ในกระบวนการทำงาน เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนโดยยึดหลัก 3R ได้แก่ Reduce-Reuse-Recycle และ1T คือ Technology ในการทำงาน เริ่มจากการเดินหน้าใช้ขวดพีอีทีที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% และมีการพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีร่วมกับคู่ค้าจนเกิดเป็น Light Weight Plastic ซึ่งเป็นการใช้ปริมาณพลาสติกลดลงสำหรับการผลิตขวดแต่ละขวด แต่ยังคงคุณสมบัติดีตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ทั้งนี้ เป๊ปซี่โคและซันโทรี่ต่างก็มีวิสัยทัศน์ในการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิล สลายตัวหรือย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% ภายในปี 2568 และ 2573  สำหรับโรงงานผลิตเครื่องดื่มของซันโทรี่ เป๊ปซี่โคนั้น เพียบพร้อมไปด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงจากประเทศเยอรมันควบคุมการผลิตด้วยระบบออโตเมชั่นเต็มรูปแบบ โดยมีกำลังการผลิตสูงสุดถึง 800 ขวดต่อนาที ที่สำคัญคือเป็นโรงงานระบบปิดตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่การขึ้นรูปขวดพีอีที ผสมเครื่องดื่มบรรจุขวด ปิดฝา ติดฉลาก และการแพ็คบรรจุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ภายใต้โรงงานที่มีมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารระดับโลก เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าเครื่องดื่มของซันโทรี่ เป๊ปซี่โค นั้นสะอาดและปลอดภัย 100%  ทั้งนี้ โรงงานผลิตเครื่องดื่มซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ถือเป็น“โรงงานสีเขียว” ที่สามารถอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การก่อสร้างตามมาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ระดับ Silver ด้านการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น หลังคาที่สามารถดูดซับความร้อนได้ดีทิศทางของโรงงานควรหันทางด้านใด จนถึงการใช้อาคารในการปฏิบัติงานจริง ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ติดตั้งหลอดไฟLED ประหยัดไฟฟ้า และเทคโนโลยีในสายการผลิตที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพจึงทำให้กระบวนการผลิตในปัจจุบันสามารถลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 14% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และส่งผลให้การใช้ทรัพยากรน้ำลดลงไปได้ถึง 35% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา  ปัจจุบันบริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย)จำกัด มีโรงงานในประเทศไทย 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งแรกตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง มีทั้งสิ้น 9 สายการผลิต ส่วนโรงงานแห่งที่สองตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 4 สายการผลิต ทั้งนี้ บริษัทยังได้เตรียมงบประมาณอีก 1,500 ล้านบาท สำหรับขยายโรงงานเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต

2020年10月1日掲載

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事