GO!GO! タイローカル工場
第57回 自然冷媒の製品試験室 EGAT
自然冷媒の普及を目指し 最新の試験施設を準備
タイ発電公社(EGAT)は、電気電子研究所(EEI)およびドイツ国際協力公社(GIZ)と共同で、「自然冷媒を使ったエアコンの安全性とエネルギー効率」を調べる試験室を開設する。既存の機器やシステムから開発することで、国際基準に沿った安全な運転を実現する。RAC NAMA基金からの財政的支援を通じて、新しい空調安全規格(TIS 1529-2561)のテストルームを準備し、将来市場に参入する自然冷媒を使用した空調製品をサポートする。以下は3機関の代表者のコメントだ。 「EGATは国営企業として、タイのエネルギー削減と温室効果ガス削減の目標を達成するための支援に取り組んでいる。今回、EGATはRAC NAMAの基金管理者として830万ユーロ(約3億バーツ)の助成金を得て、空調・冷房業界に変革をもたらすプロジェクトに着手した。タイの事業家に、環境に優しいグリーン冷媒への転換を促すと同時に、試験設備を改善することの重要性も認識しており、将来市場に投入される自然冷媒を使用した製品をテストするための試験室を準備する」(EGATの環境プロジェクト担当役員のソムチャイ・ブンナーク氏)。 「タイはエアコン・冷凍機の主要な生産拠点だ。現在、世界における市場シェアは12%以上で、冷凍・空調機器の電力消費量は国内の総エネルギー消費量の60%以上を占める。本プロジェクトは、タイの温室効果ガス(GHG)排出削減目標の達成を支援することを目的としている。過去4年間のプロジェクトでは、効率的な技術、高いエネルギー消費量、環境にやさしい自然冷媒の使用を推進してきた。需要と供給の両面で市場を牽引し、新たなビジネスチャンスを切り開くための戦略を策定していく」(GIZのエネルギー効率化・温暖化低減プログラムのディレクター、フィリップ・ピシュケ博士) 「EEIはサービス維持と人材の能力開発に常に力を入れており、タイ製品の標準のレベルアップを支援している。可燃性冷媒を対象とする規制があるエアコンの新たな安全規格(TIS 1529-2561)のクリアが目標だ。この新しい規格はビジネスチャンスの創出に役立つと信じている。先進的な研究開発により、タイは将来、グリーン冷媒の分野で持続可能なリーダーになるだろう。この新たな試験室はエアコン、冷蔵庫、冷凍庫などの自然冷媒を使用した製品をテストするための設備を備え、電気製品のエネルギー効率と安全性に関する国際規格や要求事項に沿ってサポートしていく」(EEIのナラット・ルチラット所長)
ห้องทดสอบเครื่องปรับอากาศ รองรับมาตรฐานใหม่ เน้นความปลอดภัย ประหยัดไฟ ลดโลกร้อน
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เปิดตัว “ห้องทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ” โดยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากอุปกรณ์และระบบเดิมที่มีอยู่ให้ปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากล เพื่อเตรียมห้องทดสอบให้พร้อมสำหรับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศฉบับใหม่ (มอก. 1529-2561) และเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่กำลังเข้าสู่ตลาดในอนาคต ซึ่งได้รับการสนุนงบประมาณจากกองทุน RAC NAMA คุณสมใจ บุนนาค ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “กฟผ. ในฐานะผู้จัดการกองทุน RAC NAMA ด้วยเงินสนับสนุน จำนวน 8.3 ล้านยูโรซึ่ง กฟผ. ได้ดำเนินโครงการที่สร้าง
การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของประเทศไทยสู่การใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นสีเขียวผ่านสารทำความเย็นธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน กฟผ. ยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปรับปรุงห้องทดสอบเครื่องปรับอากาศ เพื่อเตรียมความพร้อมของห้องทดสอบสำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่กำลังเข้าสู่ตลาดในอนาคต” ดร.ฟิลิปป์ พิชเกอะ ผู้อำนวยการโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น (RAC NAMA) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นที่สำคัญของโลก ด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 12 ในปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ทำความเย็นและปรับอากาศคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของการใช้พลังงานทั้งหมดในประเทศ และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ด้วยเหตุนี้ โครงการ RAC NAMA จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนประเทศไทยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดการใช้พลังงานตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยในระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมาโครงการฯ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงและสารทำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลักดันตลาดทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเปิดโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ” คุณณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า “สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีความมุ่งมั่นและยุทธศาสตร์ที่มีความพร้อมมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการให้บริการและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร เพื่อผลักดันและสนับสนุนให้มีการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ของไทย โดยเฉพาะให้รองรับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศฉบับใหม่ (มอก. 1529-2561)ซึ่งมีข้อบังคับครอบคลุมถึงสารทำความเย็นติดไฟได้เราเชื่อมั่นว่ามาตรฐานฉบับใหม่นี้จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ การวิจัยและพัฒนา และทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียวได้อย่างยั่งยืนในอนาคต” ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการทดสอบแห่งนี้มีความพร้อมในการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องทำความเย็นที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และตู้แช่เย็นต่าง ๆซึ่งประกอบด้วยการให้บริการด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทดสอบการทนแรงสั่นสะเทือนจากการขนส่งการทดสอบความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ การทดสอบด้านประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ โดยสามารถรองรับการทดสอบตามมาตรฐานสากลและข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพพลังงานและความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้า
2021年5月5日掲載