GO!GO! タイローカル工場
第52回 ロボットシステム生産工場 ROBOT SYSTEM
自動化普及と技術革新で急成長 世界進出を狙うロボットシステム
ロボット産業の発展が加速している。コロナ流行により各業界におけるロボット導入が本格的に進んでおり、とりわけ医療用ロボット、航空宇宙業界向けロボットに注目が集まっている。タイでロボット開発を手掛けるロボットシステム社は、将来の自動化普及に備えてロボット専門のエンジニアリングチームを育成している。 同社は国内外でロボットシステムの設計、組付けを行なっている。熔接、塗装、商品整列、梱包などの工程作業のロボットをメインに、機械からのワークの取り出し、人との協働ロボット、スタンドアローン(コンピューターをネットワークに接続せず、それ自体がもつ機能だけで単独に使う利用形態)、OEE(設備総合効率)を向上させるシステム開発等を手掛けている。同社のカンパナート・タンピタックシット社長は次のように語った。 「当社はロボット本体を生産するのではなく、システムを生産しています。ロボット導入による競争力は、システムの良し悪しが決め手となります。顧客のニーズとロボットの性能を正しく整合させることが重要であり、特に危険度の高い作業、精密な作業はロボットの有用性が試されます。当社はこの分野で10年の経験があり、250件のシステム導入の実績があります」 システム導入においては、ビジョンシステム、ソフトウェア、AUシステムとロボットの融合がポイントとなる。同社は輸出にも注力しており、自動車、食品、日用品などの分野を中心に、昨年は1500~2000万バーツの輸出実績を上げた。これは売上高の十数%を占める。今年の売上高は140億バーツを予想しており、そのうち輸出は十数億バーツとなる見込みだ。 タイ国内の工業セクターでは今、ロボットを中心とする生産技術の革新が起きている。焦点となるのはIoTとロボティクスの活用だ。デジタル時代の生産工程の革新、労働者不足とコロナ流行への対策は世界共通の課題であり、これまで関心の薄かった事業家もロボットを無視できなくなった。とりわけ食品・薬品分野ではロボットの重要性が認識されている。飲料、農産加工、ロジスティクス部門においても、もはやロボットは不可欠であり、この数カ月間、デジタル時代の有用なロボット導入に向けての調査研究を加速させている。 「労働者不足を解消し、製品精度を向上させるにはロボットしかありません。ロボット導入によって労働者は他の能力を開発して生き残りを図ることになるでしょう。現在は生産工程を革新するチャンスであり、将来の心配はひとまず後回しで良いと思います。事業拡大を目指すなら、今、ロボットシステムを導入することです。同じ面積の工場で、生産能力が4倍になります。当社はシステム導入が広がることを予測して、エンジニアリングチームの育成を強化しています。同時に、ベトナム、ミャンマー、ラオスへの進出も進めており、技術先進国のドイツをはじめ欧州進出も視野に入れています。当社のロボットシステムはタイの技術高度化の象徴であり、世界市場でも通用するレベルに達しています」
ROBOT SYSTEM เตรียมขยายโรงงานพัฒนาระบบหุ่นยนต์ฝีมือคนไทย รองรับความต้องการใช้หุ่นยนต์ของภาคอุตสาหกรรม
ภาพรวมของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีโอกาสและมีแนวโน้มเติบโตได้อีก โดยเฉพาะจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19เป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้ความต้องการใช้หุ่นยนต์มากขึ้น ทั้งหุ่นยนต์บริการอุตสาหกรรมการแพทย์ อีกทั้งการพัฒนาหุ่นยนต์เข้าไปสู่อุตสาหกรรมอากาศยานมีแนวโน้มเติบโตดี โดยล่าสุดหนึ่งในผู้ผลิตระบบหุ่นยนต์ของไทยอย่าง บริษัท โรบอท ซิสเต็ม จำกัด ได้เตรียมแผนการดำเนินธุรกิจทั้งการขยายโรงงานในการพัฒนาระบบหุ่นยนต์พร้อมทั้งเพิ่มบุคลากรในการให้บริการเพื่อรองรับการเติบโตของการใช้หุ่นยนต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คุณกัมปนาท ตันพิทักษ์สิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรบอทซิสเต็ม จำกัด กล่าวว่า บริษัทของเราเป็นผู้ออกแบบ และติดตั้งระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีประสบการณ์และความชำนาญในการติดตั้งงานหลากหลายประเภท เช่น หุ่นยนต์เชื่อม (Arc Welding & Spot Welding) พ่นสี (Painting) จัดเรียงสินค้า (Palletizing) และบรรจุภัณฑ์ (Packing) ยกของเข้าออกเครื่องจักร (Machine Tending) ระบบ Vision ทั้งที่ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์และแบบ Stand-alone Unit ระบบหุ่นยนต์พร้อมหัวขัด Polishing System OEE System
และระบบอื่น ๆ ที่นำไปใช้กับหุ่นยนต์ “เราไม่ได้เป็นผู้ส่งออกหุ่นยนต์ แต่เราเป็นผู้ส่งออกระบบ ซึ่งสิ่งที่ทำให้เราสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้คือการนำเอาหุ่นยนต์มาบูรณาการทำเป็นระบบ โดยในการสร้างงานแต่ละชิ้นจะเริ่มจากการวิจัย นำโจทย์หรือความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในการผลิตของลูกค้ามาพัฒนาเป็นหุ่นยนต์ ซึ่งไม่ใช่แค่นำหุ่นยนต์นี้เข้าไปทำงานแทนคน แต่เป็นการนำหุ่นยนต์เข้าไปทำงานแทนคนในจุดที่เป็นงานอันตราย มีความเสี่ยงสูง ต้องการความแม่นยำ ต้องการความเร็วสูง ๆ หรือต้องการความสะอาด ซึ่งงานเหล่านี้จะใช้หุ่นยนต์มาแทนที่ ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 10 ปี เราติดตั้งระบบหุ่นยนต์ให้กับอุตสาหกรรมมากกว่า 250 ระบบ ซึ่งงานที่เราทำเป็นงานเกี่ยวกับ Vision System ระบบซอฟต์แวร์ และ AI ต่าง ๆ ที่ไปเชื่อมต่อกับหุ่นยนต์ ซึ่งเราทำหุ่นยนต์ให้กับอุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งในปี 2019 เราส่งออกระบบไปต่างประเทศมีมูลค่ากว่า 15-20 ล้านบาท ซึ่งลดลง 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย และในปี 2020 ยอดขายของเรามีมูลค่ารวม 140 ล้านบาท โดยมียอดขายมาจากการส่งออก 10 กว่าล้านบาท” นอกจากนี้ คุณกัมปนาท กล่าวถึง การใช้หุ่นยนต์ในประเทศไทยว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการตื่นตัวในการพัฒนาและปรับตัวสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยเฉพาะหุ่นยนต์ หรือ โรโบติกส์ และ Internet of Things (IOTs) มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตแบบเดิม ๆ ในยุคดิจิทัล (Disruption’ Digital) เพื่อทดแทนปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และประกอบกับการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบกับทุกประเทศทั่วโลก จึงเป็นตัวเร่งทำให้ผู้ประกอบการไทยในกลุ่มบริษัทที่ยังไม่เคยคิดตัดสินใจ หรือ อยู่ในระดับให้ความสนใจที่จะใช้งานหุ่นยนต์มีความตื่นตัวมากขึ้น เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและยา เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมการเกษตร โลจิสติกส์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันพบว่ากลุ่มผู้ผลิตเหล่านี้จะใช้เวลาช่วง 4-5 เดือน ศึกษาหาข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดการลงทุนด้านเครื่องจักรที่รองรับการผลิตรูปแบบดิจิทัล หากรายใดสามารถลงทุนได้ก่อนก็จะได้เปรียบในการปรับตัวสู่อนาคตที่จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานมนุษย์ให้น้อยลง ทั้งนี้จากการลดจำนวนของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ความต้องการ
ความแม่นยำที่ผ่านการทำงานซ้ำ ๆ โดยมนุษย์ การลดการสัมผัสและการสูญเสียของวัตถุดิบ และลดเวลาการทำงานของแรงงาน และทดแทนแรงงานคนที่จำเป็นต้องมีการ Reskill ไปทำงานด้านอื่นที่เหมาะสมและคุ้มค่ากว่าการใช้หุ่นยนต์ ซึ่งหากโรงงานได้มีการปรับกระบวนการผลิตก็ไม่ต้องกังวลกับวิกฤตอื่น ๆ ที่จะเกิดในอนาคต ฉะนั้นในช่วงนี้ถือเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยนำพาอุตสาหกรรมไปสู่อนาคตได้อย่างแท้จริง ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการเติบโตและความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราจึงมีแผนขยายโรงงานพัฒนาระบบหุ่นยนต์เพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะขยายขนาดเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่าของพื้นที่โรงงานปัจจุบัน และวางแผนเพิ่มจำนวนบุคลากรให้มากขึ้น เพราะถ้าหากลูกค้ามีความสนใจใช้งานหุ่นยนต์พร้อมกันอาจจะทำให้จำนวนบุคลากรและทีมงานของเราไม่สามารถรองรับและให้บริการได้เพียงพอต่อความความต้องการดังกล่าวได้ อีกทั้งเราจะพยายามขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น ได้แก่ เวียดนาม พม่า ลาว และส่งออกระบบไปประเทศแถบยุโรป รวมถึงประเทศชั้นนำด้านเทคโนโลยีอย่างเยอรมนีที่ได้ให้การยอมรับในประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และคุณภาพของระบบหุ่นยนต์ที่เราพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งนั่นคือความภาคภูมิใจที่เราได้มีโอกาสผลิตระบบหุ่นยนต์ฝีมือของคนไทยขายให้กับต่างชาติได้ใช้กันทั่วโลก
2020年12月1日掲載
関連記事
泰日工業大学 ものづくりの教育現場から
第60回『バンコクの高速道路計画と鉄道計画』
タイでものづくり教育を進める泰日工業大学(TNI)の例をもとに、中核産業人材の採...
泰日工業大学 ものづくりの教育現場から
第84回『タイと日本の王室・皇室交流』
タイでものづくり教育を進める泰日工業大学(TNI)の例をもとに、中核産業人材の採...