GO!GO! タイローカル工場

第7回 Berli Jucker Public Company Limited

ガラス瓶事業拡大に20億バーツ投資 伸び続ける需要に対応

ベルリ・ジェッカー(BJC)社は20億バーツを投資してガラス瓶の事業を拡大。高品質のガラス瓶の生産を拡大する。国内販売、輸出共に伸び続ける食品・飲料産業の成長に対応する。

同社のパタポン・イアムスロー商品・サービス担当総支配人は「当社は創業して65年を超えるが、一貫してガラス瓶の事業を手がけてきた。BJCはタイならびに近隣諸国におけるリーディング・カンパニーである。BJCグループのタイ・ガラスウェア・インダストリー社はラートブーラナおよびバンプリーに工場を持ち、ガラス瓶の製造・サービス業界の確固たるリーダーである。ラートブーラナ工場の生産が限界に達したので、2010年にタイマラヤ・ガラス(TMG)社の事業を合併して生産を拡大した」と語る。

生産工程の開発、品質管理、各方面のプロセスの集約した体系的なシステムを構築。BJCグループのTMGのガラス瓶の製造は進歩を続けており、増え続ける顧客の支持を得て大きな成功を収めている。当初SB1では、溶融炉1基・生産ライン3本の設備で250人の従業員が日産290トン製造していた。2013年にはTMGの生産ライン4本の設備が加わり、SB2での日産300トンの製造が始まった。これはTMGの第1工場の敷地内に16億バーツが投資されたものである。さらにTMG第2工場の敷地内に生産ライン5本の設備を加えたSB3による日産400トンの製造が始まった。これには22億バーツが投資された。この生産開始と同時に2014年第3四半期にラートブーラナ工場の生産は停止された。現在、SB3の製造が順調に続いている。製品製造の効率は平均92.08%、ガラス溶融炉の稼動効率は製造開始以来、平均99.3%を誇る。

パタポン氏は「今年は事業の拡大に投資を進めている。投資額は20億バーツ。TMG社のサラブリ工場における新たな溶融炉を構築しる。この設備は来年に完成し日産300トンの生産を開始する。現在のBJCグループのガラス瓶の生産力は日産2,700~2,800トンを数える。SB4となるTMGの新たな溶融炉が完成すれば、グループの生産力は日産3,100トンに達することになる」と話す。

成長を続ける市場に応えるため、BJCグループは生産力の拡大ならびに新製品の開発を続けている。市場の中でも食品・飲料産業の成長が顕著で、国内販売および輸出が伸びていることによる。食品・飲料産業の各メーカーはそれぞれ高品質の多様なガラス梱包材を求めており、ガラス梱包材の製造・サービスはBJCグループのなかでも最大の稼ぎ頭となっている。

今年上半期のガラス梱包材の製造・サービスの収入は53億5,600万バーツで15.7%増。この他にマレーシアとベトナムも順調に伸びている。アセアン市場の中でCLMV諸国の経済が堅調に伸びていることが背景となっている。

ガラス梱包材の事業が順調に伸びているほかに、BJCグループはガラス瓶製造技術研修センターをオープンした。指導員はガラス瓶の製造・サービスのベテラン技術者が当たり、機械類は最新モデルが使われる。研修生の知識、能力、可能性を最大限引き出すことが狙いである。同時に従業員の福利厚生、生活環境の充実も併行して進めている。

 

 

บีเจซี ขยายการลงทุนในธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว

ทุ่ม 2,000 ล้าน มุ่งรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

บีเจซีเดินหน้ารุกตลาดบรรจุภัณฑ์ ทุ่มเม็ดเงิน 2000 ล้านบาท ขยายการลงทุนในธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว มุ่งผลิตบบจุภัณฑ์แก้วคุณภาพระดับสูง รองรับธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารของประเทศ ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก

นายปฐพงศ์ เอี่ยมสุโร ผู้จัดการใหญ่ กลุ่มสินค้าและบริการทางผลิตภัณฑ์ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงเวลากว่า 65 ปี ที่ผ่านมา นับได้ตั้งแต่กลุ่มบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (บีเจซี) ได้ดำเนินธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว ซึ่งตลอดเวลา  กลุ่มบริษัทบีเจซี นับว่าเป็นผู้นำสินค้าและการให้บริการทางบรรจุภัณฑ์แก้วของประเทศไทยและในภูมิภาค จากผลิตภัณฑ์ของบริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) โรงงานราษฏ์บูรณะ และโรงงานบางพลี เพื่อคงความเป็นผู้นำ และเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ในสินค้าและการให้บริการทางด้านบรรจุภัณฑ์แก้วของกลุ่มบริษัท  บีเจซี และจากข้อจำกัดในการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานราษฏ์บูรณะ บีเจซี จึงได้รวบรวมกิจการของไทยมาลายากลาส จำกัด ตั้งแต่ปี 2553

โดยได้มีการพัฒนากระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และขบวนการบริหารการจัดการในทุกด้านแบบครบวงจร ทำให้กิจการ การผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว ของ TMG ภายใต้กลุ่มบริษัทของบีเจซี มีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนทำให้มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น กล่าวคือ จากเดิมมีสายการผลิต SB1 หรือ 1 เตาหลอม 3 ไลน์การผลิต กำลังการผลิต 290 ตันต่อวัน/จำนวนพนักงาน 250 คน

ในปี 2556 ไทยมายากลาส ได้เปิดดำเนินการผลิต SB2  เพิ่มอีก 4 ไลน์การผลิต หรือกำลังการผลิต 300 ตันต่อวัน ในพื้นที่โรงงาน TMG1 ด้วยเงินลงทุนกว่า 1,600 ล้านบาท และได้ขยายกำลังการผลิตSB3  ในพื้นที่ TMG2  อีก5 ไลน์การผลิต หรือกำลังการผลิต 400 ตัน ต่อวัน ด้วยเงินลงทุนกว่า 2,200 ล้านบาท ซึ่งได้เปิดดำเนินการผลิต พร้อมกับหยุดการดำเนินการผลิตที่โรงงานราษฏ์บูรณะเมื่อไตรมาสที่ 3ของปี 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งผลดำเนินการในปัจจุบันของ SB 3 เป็นไปอย่างดียิ่ง ด้วยประสิทธิภาพของการผลิตสินค้าดี เฉลี่ย 92.08% และการใช้ประโยชน์ของเตาหลอมน้ำแก้ว เฉลี่ย 99.3% นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการผลิตมา

นายปฐพงศ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันได้ขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตภัณฑ์ในปี 2559 โดยการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว ด้วยการลงทุนมูลค่า 2,000 ล้านบาท ในการก่อสร้างเตาหลอมแห่งใหม่ ที่โรงงานไทยมาลายากลาส จังหวัดสระบุรี ซึ่งจะเริ่มทำการผลิตได้ในปี 2560 โดยมีกำลังการผลิต 300 ตันต่อวัน ทั้งนี้กลุ่มบีเจซี มีกำลังในการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วทั้งสิ้น 2,700-2,800 ตันต่อวัน เมื่อการสร้างเตาหลอมแห่งใหม่ ซึ่งเป็นเตาที่ 4 (SB 4) ที่โรงงานไทยมาลายากลาสแห่งนี้แล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กลุ่มบีเจซีมีกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วทั้งสิ้น อยู่ที่ 3,100 ตันต่อวัน

เพื่อเป็นการตอบรับกับการตลาดที่กำลังเติบโต กลุ่มบีเจซีได้ขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยเฉพราะอย่างยิ่งธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารของประเทศไทยกำลังมีการเติบโต ทั้งในด้านของการบริโภคในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ซึ่งธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารต่างก็ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพระดับสูง ทำให้ธุรกิจกลุ่มสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์เป็นกลุ่มที่ทำรายได้สูงสุดให้แก่ทกลุ่มบริษัทบีเจซี

ทั้งนี้ยอดจำหน่ายสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์ครึ่งปีแรก ของปี 2559 เท่ากับ 5,356 ล้านบาท เติบโตที่ 15.7% นอกจากนี้การเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วในประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม เติบโตขึ้นเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตด้วยความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพราะอย่างยิ่งในตลาด CLMV

นอกจากการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วอย่างต่อเนื่องแล้ว กลุ่มบริษัทบีเจซี ยังได้เปิดศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคการผลิตขวดแก้ว ที่เพียบพร้อมไปด้วยวิทยากรซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของกลุ่มสินค้าและบริการทางบรรจุภัณฑ์ เครื่องจักรที่ใช้ในการฝึกเทคนิคการผลิตที่ทันสมัย  เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถของบุคลากร ควบคู่ไปกับการพัฒนาสวัสดิการ และดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานเป็นอย่างดี

เขียน    บุษยารัตน์ ต้นจาน

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事