GO!GO! タイローカル工場

第6回 C.C.S. ADVANCE TECH CO., LTD.

タイで航空機部品を製造 海外の大手サプライヤーに供給

誰が信じるだろうか。最終学歴が小学校卒の男性が、今では国際標準の航空機部品のメーカーを経営しているとは。切削工場で自動車部品製造の経験を積み重ね、やがてタイ唯一かつ最初の航空機部品メーカーとなり、世界のどの国にも負けない製品を作っている。

ノンタブリ県バーンヤイ郡郊外には、分譲住宅と中小企業が軒を連ねて密集している。その中の1軒が航空機部品を製造するCCSアドバンス・テックの工場で、タイで最初に航空宇宙産業向け品質マネジメント規格AS9100を取得した。世界レベルの製造標準を保証する規格である。同社のブンジャルーン・マノーブーンチャイルート社長こそ、切削工場から身を起こし、自動車部品の製造を手がけ、ついには航空機部品の製造に歩を進めた人である。

ブンジャルーン氏は今日に至るまで貫いてきた態度は、勤勉、忍耐、運に対する不屈、とりわけ家庭の貧困から小学校6年卒で断念せざるをえなかった学歴にとらわれなかったことである。彼は未来を展望し、英語の学習に力を入れ、自分を伸ばしてくれるチャンスに対しては真剣に取組んだ。英語の基礎があれば、未来を開いてくれると信じたのである。ダイヤ売り場の店員から始まり、多くの仕事に就きながらひたすら事業主への道を目指した。切削工場を始めるに際して、関連知識は皆無だった。しかし、「頼まれたら嫌と言えない性格」から、また断ったら家族が路頭に迷う瀬戸際にあったことから、いやでも切削工場を開くことになり、努力の果てに事業を伸ばし、今日の数十億の年商を上げるに至ったのである。

「切削工場は技術本位の事業です。どんな小さなことでも精密さが求められ、いいかげんな誤差は許されません。誤差が出るようでは事業として見込みがありません。世界最新型の切削マシンを輸入して、しかも神経を張り詰めて仕事をしましたね。それで質の高い仕事が次第に増えてきました。その間、仕事の基準を常に高めてきました。現在、金型をはじめモールディングパーツやスマートフォンの部品、航空機部品の製造をこなすまでに至りました」

航空機部品の製造という挑戦的な仕事は、単に自分自身の名誉のためではなく、タイ企業の実力の発揚をかけて決断したものである。航空宇宙産業の国際標準AS9100を取得するというハードルをクリアしたが、タイ企業にとっては充分にレベルが高く、困難な挑戦であった。

「この分野の事業を何十年もやってきました。それらの知識と経験、熟練を一丸として航空機部品の製造を目指す気持ちが年々強くなりましたね。精密な切削の仕事の蓄積により、金属加工の技量は充分に付いていたと思います。自動車部品では充分な水準に達しましたが、航空機部品の標準ははるかに高いものでした。最初の10年間は、スペックを実現するための品質向上の試行期間で欠損が続きました。しかしそれらの努力を欧米企業すなわち世界的名航空機メーカーは認めてくれました。それから2年たってようやく当社の製品の海外輸出が実現しました」

現在、CCSの輸出高は年間3億5,000万バーツ、月当り2万個の部品を輸出している。これはタイ人の運営する企業ではトップである。CCSの部品はボーイング787、777、737をはじめ、エアバスA320-NEO、A380に組み付けられている。主にブレーキ・システム、貨物室システム、センサー・システムの部品で、客室内の照明や椅子などにも使用されている。現在、従業員数は1,300人を数える。

CCSは今後、世界にネットワークの拡大を進める。経営者の展望によれば“ユナイテッド・テクノロジー・エアロスペース・システム”を事業に本格的に導入して、全面的な未来産業への参入となる。製品開発にイノベーションを次々に打ち出してライバルに対する優位を決定的にする。事業機会を拡大するとともに長期的な成功を図る。

 

ซี.ซี.เอส.แอดวานซ์ เทค

ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานป้อนต่างชาติ

ใครจะเชื่อจากเด็กจบแค่ ป.6 วันนี้จะกลับกลายมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินตามมาตรฐานสากล ที่เริ่มต้นจากความชำนาญด้านโรงกลึง และชิ้นส่วนยานยนต์ กลายเป็นผู้ประกอบการรายแรกและรายเดียวในไทยที่พิสูจน์ให้โลกเห็นว่าคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก

อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บริเวณชานเมืองที่เต็มไปด้วยบ้านจัดสรร และธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็กจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นคือโรงงานผลิตส่วนเครื่องบิน เป็นอุตสาหกรรมอากาศยานที่ได้มาตรฐาน AS9100 แห่งแรกในไทย เพื่อการันตีมาตรฐานการผลิตระดับโลก ขอนายบุญเจริญ มโนบูรชัยเลิศ” ประธานกรรมการ บริษัท ซี.ซี.เอส.แอดวานซ์เทค จำกัด ผู้ซึ่งก่อร่างธุรกิจมาจากโรงกลึง และผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จนก้าวเข้าสู่การผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน

เส้นทางธุรกิจของคุณบุญเจริญที่กว่าจะมีวันนี้ได้ เขาต้องอาศัยความขยัน อดทน ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา โดยเฉพาะฐานะของครอบครัวที่ยากจน ส่งเสียให้เขาได้รับการศึกษาสูงสุดเพียงชั้น ป.6 แต่ด้วยเป็นคนมองการณ์ไกล เขาจึงมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการเรียนภาษาอังกฤษ ฝึกฝนอย่างหนักเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย โดยเชื่อว่าหากมีรากฐานภาษาอังกฤษที่ดีแล้ว ในอนาคตจะทำอะไรก็ง่ายขึ้น

ทำให้จากลูกจ้างในร้านเพชร และลูกจ้างอีกหลายธุรกิจ ขอก้าวเข้าสู่เส้นทางเถ้าแก่ ด้วยธุรกิจโรงกลึง ทั้งที่ไม่เคยมีความรู้ด้านนี้มาก่อน แต่ต้องทำเพราะด้วยนิสัยหลักคือ ไม่เคยปฏิเสธลูกค้า ประกอบกับในช่วงนั้นคิดว่าถ้าไม่ทำงานก็จะเลี้ยงครอบครัวไม่ได้ จึงขอลองทำดูสักตั้ง! สุดท้ายโรงกลึงกลับกลายเป็นใบเบิกทางให้เขามีธุรกิจที่มั่นคง มีรายได้แตะหลักพันล้านอย่างในทุกวันนี้

“การทำโรงกลึงเรื่องฝีมือเป็นสิ่งสำคัญ ทุกอย่างต้องเนี้ยบ ห้ามพลาดแม้เพียงนิด เพราะนั่นหมายถึงสัญญาณความไม่มั่นคงในธุรกิจ ซึ่งเราใส่ใจเป็นพิเศษ โดยมีการนำเข้าเครื่องจักรที่ทันสมัยระดับโลกมาใช้งาน และมีการขยายปริมาณและความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยกระดับปรับปรุงมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด ทำให้ปัจจุบันเราสามารถขยายธุรกิจออกไปได้หลายประเภท เช่น การทำแม่พิมพ์ โมลดิ้งพาร์ท ส่วนประกอบมือถือสมาร์ทโฟน และชิ้นส่วนโลหะอากาศยาน”

สำหรับการก้าวเข้าสู่ธุรกิจอากาศยานถือเป็นความท้าทายที่คุณบุญเจริญตั้งใจจะทำให้ได้ ไม่ใช่เพื่อตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการแสดงศักยภาพว่าบริษัทสัญชาติไทยแท้ก็สามารถพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน จนได้รับการรับรองมาตรฐาน AS9100 ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในการดำเนินธุรกิจนี้ มีขั้นตอนค่อนข้างยุ่งยาก และมีความเข้มงวดในการผลิตสูงมาก จึงถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากของผู้ประกอบการไทย

“หลังจากที่เราทำธุรกิจด้านชิ้นส่วนมาหลายสิบปี ก็อยากหลอมรวมทักษะต่าง ๆ มาสู่การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ซึ่งพื้นฐานส่วนใหญ่มาจากงานกลึงที่เรามีความเชี่ยวชาญอยู่ก่อนแล้ว ขณะที่งานด้านชิ้นส่วนยานยนต์ก็ผ่านมาหมด แต่การทำชิ้นส่วนอากาศยานจะมีความยากกว่า และต้องมีมาตรฐานที่สูงกว่าเช่นกัน โดยในช่วง 10 ปีแรกเรายอมรับว่าเราประสบภาวะขาดทุนมาโดยตลอดเพราะอยู่ในช่วงทดลอง ต้องแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานให้ตรงตามสเปก จนเป็นที่ไว้วางใจของบริษัทต่างชาติ ทั้งยุโรป และอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลก จากนั้นในอีก 2 ปีที่ผ่านมาเราก็ผลิตสินค้าส่งออกได้จริง

ปัจจุบันบริษัท ซี.ซี.เอส.มีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอากาศยานต่อปีประมาณ 350 ล้านบาท หรือมียอดการสั่งผลิตประมาณ 20,000 ชิ้น/เดือน ซึ่งสูงสุดสำหรับบริษัทสัญชาติไทยที่มีเจ้าของเป็นคนไทย โดยชิ้นส่วนอากาศยานที่ทางบริษัทฯ ผลิตเพื่อส่งออกนั้นจะเป็นชิ้นส่วนในเครื่องบินโบอิ้ง 787, 777, 737 และเครื่องบินแอร์บัส A320-NEO และ A380 เป็นต้น โดยเป็นชิ้นส่วนเครื่องบินในระบบเบรก ระบบคลังสินค้า ระบบเซ็นเซอร์ รวมถึงอุปกรณ์เกี่ยวกับการตกแต่งภายใน อย่าง อุปกรณ์ด้านแสงสว่าง เก้าอี้ภายในห้องโดยสาร ซึ่งมีการจ้างพนักงานประมาณ 1,300 คน

ก้าวต่อไปของบริษัท ซี.ซี.เอส. ผู้บริหารมองว่าจะขยายเครือข่ายในระดับโลก พร้อมทั้งมีการนำระบบสากลในอุตสาหกรรมอากาศยานที่เรียกว่าUnited Technology Aerospace System มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ จึงถือเป็นธุรกิจที่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตอย่างเต็มตัว โดยพยายามสร้างความได้เปรียบจากคู่แข่งด้วยการนำเอานวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาสที่ดีทางธุรกิจ และเป็นเส้นทางที่นำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว

เขียน    บุษยารัตน์ ต้นจาน

 

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事