GO!GO! タイローカル工場

第39回 荷台工場 Sammitr Motors Manufacturing PLC

研究開発重視が競争力を向上
高張力鋼の導入で堅牢化、軽量化

サミットモーターマニュファクチャリングはトラック、荷台車などのメーカーで、サミットグループの中核企業である。高張力鋼のイノベーションを導入して競争力向上に生かし、特にセミトレーラーのシャシーフレームの生産に優れている。製品の堅牢化、耐久性が増すとともに、2トン余りの軽量化が実現。ファーストワンマイルからラストワンマイルまでの各局面のニーズにあまねく応えている。体系的なアフターサービスの充実を武器に3年以内に東南アジア市場への進出を狙う。
サミットモーターマニュファクチャリングのスリヤー・ポーシリクン副社長は「当社は主に8つの事業を進めています。トラック・セミトレーラー、トラック部材・部品、ピックアップ改造・ピックアップルーフ・常温輸送車・保冷車、各種部品OEM生産、グリーンエネルギー車、国際貿易・投資、天然ガスなど新エネルギーの物流関連サービス、人員・貨物輸送のSSMデジタルプラットフォーム事業です。全サプライチェーンをカバーする輸送車と物流を事業とする本格企業に成長する道を進んでいます」と語る。
これまでトラックは年率5~7%で伸びてきた。2013年はタイのトラック市場が4万台を超えたが、その後は不振傾向で昨年は2.9万台まで減った。今年は持ち直し、3.1万台の現状という。政府のインフラへの投資、特別経済区の振興に力が入り、輸送・物流方面の成長が見込まれている。また、タイにおけるEコマースの急成長も、トラック輸送の強力な成長要因になっている。「輸送・物流方面の成長はタイだけではなく、いまやアセアン全域の傾向です。現在、当社の生産力は荷台車、ダンプカー合わせて月産1,350台。水のタンク車、ゴミ収集車など特殊な商用車が月産150台、セミトレーラーが月産220台です」。
政府は積載重量、安全走行を重視している。同社では輸送コストの軽減など各方面のニーズも満たすため、車体の軽量化に最重点を置く。世界の最先端の鉄鋼会社と共同でR&D活動を進める。高張力鋼の導入もこの一環で、トラック、荷台車の車体の軽量化が大きく進んだ。セミトレーラーのシャシーフレーム構造にも高張力鋼が使われている。「高張力鋼の強みは、普通の鋼材よりも30~40%堅牢で耐久性に勝ることです。それ以上に2トンほど軽くなったことがなによりの特長です。これにより2トンの積載増が可能になります。直接的なメリットとともに、メンテナンスコストが軽減されます。こういた素晴らしい特殊鋼を製品に導入したのは当社が初です」。
このほかにも、新たな研究開発が引き続き進められている。特に生産工程の簡素化は、同時に各プロセスの品質向上も求められる。「このことは製造コストの低減、競争力の強化となって事業の継続性が保障されます。当然、顧客の満足度が高まります。毎年、収入の2%を新製品の開発にあてます。当社は自社の研究開発センターを運営しています。パートナーにはオーストラリアの自動車R&Dセンター、中国重慶自動車研究所、NONOX B.V. LANDI RENZO S.P.A、国立素材技術の開発センターなどがそろっています。生産工程へのロボット、自動化導入、先端的な機械の使用などパートナーなしには考えられません」。
国内・海外のマーケティング体制を3年かけて充実させた後、一気にアセアンに展開する。狙いはAEC市場。インドネシア、フィリピン、カンボジア、ラオス、ミャンマーが焦点になる。「どの国もGDPが伸び盛りで、勢いの良い国です。タイはもとより、これらの国でも道路、港湾、空港の充実で、ロジスティクスの展開が進み、トラックの交通量が一気に増えてきます。インドネシアにはトラック工場を進出させ、フィリピンにも進出する計画です。両国とも生産基地を置く主要拠点として位置づけています」。

สามมิตรมอเตอร์ส ชูจุดเด่นด้านการวิจัยและพัฒนา นำนวัตกรรมเหล็กพิเศษ “ไฮ เทนไซล์” (Hi Tensile) พัฒนาสินค้าให้แข็งแรง ทนทาน แต่มีน้ำหนักเบา

บริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการผลิตรถบรรทุกและรถพ่วง ภายใต้บริษัทสามมิตร กรุ๊ป โฮลดิ้งจำกัดยกระดับการพัฒนาสินค้าด้วยการนำเหล็กพิเศษ “ไฮ เทนไซล์” (Hi Tensile) นวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้สำหรับการผลิตตัวถังรถบรรทุกและรถพ่วง และสำหรับผลิตโครงสร้าง Chassis Frame ของรถพ่วง (Semi Trailer) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน แต่มีน้ำหนักเบาลงกว่า 2 ตัน สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานในทุกกลุ่มตลาด ตั้งแต่ First Mile Delivery จนถึง Last Mile Delivery ต่อยอดสู่บริการหลังการขายครบวงจร พร้อมตั้งเป้าตีตลาด AEC ภายใน 3 ปี

คุณสุริยา โพธิ์ศิริสุข กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง จำกัด (มหาชน) ภายใต้ สามมิตร กรุ๊ปโฮลดิ้ง จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันสามมิตรมอเตอร์สมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกเซ็กเม้นท์ ตั้งแต่ First Mile Delivery จนถึง Last Mile Delivery ใน 8 กลุ่มธุรกิจหลัก ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจรถบรรทุก รถพ่วง, กลุ่มธุรกิจอะไหล่ ผลิตแหนบและอะไหล่รถบรรทุก, กลุ่มธุรกิจปิกอัพดัดแปลง ผลิตหลังคารถปิกอัพจากเหล็ก รถตู้แห้ง และรถตู้เย็น, กลุ่มธุรกิจรับจ้างผลิต หรือ OEM ชิ้นส่วนรถยนต์, กลุ่มยานยนต์พลังงานสีเขียว, กลุ่มการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ให้บริการขนส่งโลจิกติกส์ก๊าซธรรมชาติพลังงานทางเลือกใหม่และกลุ่ม SSM Digital Platform แพลตฟอร์มด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งคนและสินค้า และขณะนี้ สามมิตร พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ และยานยนต์ที่ครอบคลุมทั้งระบบ Supply Chain

ในช่วงที่ผ่านมาตลาดรถบรรทุกมีอัตราการเติบโตปีละประมาณ 5-7 % ย้อนกลับไปในปี 2556 ตลาดรถบรรทุกมียอดรวมเติบโตสูงสุดกว่า 40,000 คัน เรียกได้ว่าขณะนั้นถือเป็นยุคเฟื่องฟูของตลาดรถบรรทุกของไทย แต่หลังจากนั้นตลาดรถบรรทุกมีอัตราการเติบโตลดลงอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปี 2561 ตลาดรวมรถบรรทุกมีประมาณ 29,000 คัน และคาดว่าในปี 2562 ตลาดรถบรรทุกจะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นและมียอดรวมประมาณ 31,000 คัน ทั้งนี้ เนื่องจากนโยบายรัฐบาลยังคงให้การสนับสนุนในด้านการลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ภาคธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้ามีอัตราการเติบโตตามไปด้วย รวมถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของธุรกิจ E-Commerce ทั้งภายในประเทศ และกลุ่มประเทศอาเซียน ยังส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์เติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน และปัจจุบันสามมิตรมีกำลังการผลิตรถพ่วงและรถดัมพ์ทุกประเภทประมาณ 1,350 คันต่อเดือน อีกทั้งมีกำลังการผลิตรถพิเศษเพื่องานเฉพาะกิจ รถน้ำและ
รถขยะได้ประมาณ 150 คันต่อเดือน และสามารถผลิต Semi Trailer ทุกประเภทประมาณ 200 คันต่อเดือน

สามมิตรพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของภาครัฐในเรื่องการบรรทุกน้ำหนักและความปลอดภัยรวมถึงการคำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่าทางธุรกิจให้กับลูกค้า สามมิตรจึงได้มุ่งเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องของน้ำหนักเบา จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับผู้ผลิตเหล็กชั้นนำระดับโลก ในการนำนวัตกรรมเหล็กพิเศษ “ไฮ เทนไซล์” (Hi Tensile) มาใช้สำหรับการผลิตตัวถังรถบรรทุกและรถพ่วง และสำหรับผลิตโครงสร้าง Chassis Frame ของรถพ่วง (Semi Trailer) ด้วย ซึ่งคุณสมบัติของเหล็ก “ไฮ เทนไซล์” จะมีความแข็งแรง ทนทาน กว่าเหล็กทั่วไปประมาณ 30-40% แต่มีน้ำหนักเบากว่า ทำให้น้ำหนักของตัวรถเบาลงกว่า 2 ตัน ทำให้สามารถบรรทุกสินค้าได้เพิ่มขึ้น 2 ตัน เพิ่มกำไรให้กับผู้ประกอบการขนส่ง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ซึ่งสามมิตรถือเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในตลาด ที่นำเหล็กพิเศษนี้มาใช้ในการผลิตตัวถังรถทุกประเภท นอกจากนี้ทางสามมิตรยังมีทีม Engineer สำหรับการออกแบบและพัฒนาตัวถังและอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถนำเสนอ Solution ที่สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้รถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การใช้งานได้มากขึ้น ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น นอกจากนี้ทาง สามมิตร ยังมีทีมวิศวกรสำหรับการออกแบบและพัฒนาตัวถังและอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถนำเสนอ Solution ที่สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้รถได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การใช้งานได้มากขึ้น ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

นอกจากการนำนวัตกรรมเหล็กพิเศษ “ไฮ เทนไซล์” (Hi Tensile) มาใช้สำหรับการผลิตตัวถังรถบรรทุกและรถพ่วงและสำหรับผลิตโครงสร้าง Chassis Frame ของรถพ่วง (Semi Trailer) แล้ว สามมิตรได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่องเพราะถือเป็นหัวใจสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพในทุกขั้นตอนและลดต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ตลอดจนคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการต่อยอดธุรกิจ และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยแต่ละปีใช้งบ2%ของรายได้ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ โดยบริษัทจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนา (In-House Research and Development Center) ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมรวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรจากหน่วยงานวิจัยภายนอกเช่นศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมยานยนต์แห่งออสเตรเลีย (Auto CRC), China Chong Qing Automobile Research Institute (CCARI), NONOX B.V. LANDI RENZO S.P.A, ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เป็นต้น นอกจากนี้ สามมิตรได้มีการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย โดยมีการนำหุ่นยนต์และมีกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิต คุณภาพ และความคุ้มค่า ตลอดจนเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานให้กับพนักงานอีกด้วย

อย่างไรก็ตามด้วยจุดแข็งและจุดเด่นที่พร้อมยกระดับสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจึงทำให้สามมิตรมีความมั่นใจที่จะทำตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะ 3 ปีจากนี้เตรียมรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น เริ่มจากตลาด AEC อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ กัมพูชา ลาว เมียนมา เป็นต้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีการเติบโตทาง GDP อย่างต่อเนื่อง และมีการลงทุนด้านสาธารณูปโภคทั้งสร้างถนน ท่าเรือ สนามบิน อีกทั้งการเติบโตทางด้านโลจิสติกส์ทำให้จำเป็นต้องใช้รถบรรทุกเพื่อการขนส่งสินค้ามากขึ้น โดยปัจจุบันทางสามมิตรได้มีการตั้งโรงงานผลิตตัวถังรถบรรทุกที่ประเทศอินโดนีเซียและมีแผนจะขยายไปยังประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นฐานยุทธศาสตร์ของตลาดอาเซียนต่อไป

(2019年10月号掲載)

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事