GO!GO! タイローカル工場

第40回 高電圧バッテリー生産工場 BMW Manufacturing Thailand Co., Ltd.

BMWが高電圧バッテリー生産工場を建設 タイのBMW工場を世界標準へ

ドイツのBMWグループのタイ法人、BMWグループ(タイランド)は、同グループ初となる自社向けの高電圧バッテリー生産工場を建設した。ドイツの自動車部品大手ドラクスルマイヤーとの合弁事業による、アセアンで唯一の工場だ。チョンブリ県のWHA工業団地2に位置し、バッテリーモジュールの組立、バッテリー本体の組立が7月から始まった。  高電圧バッテリーは、ハイブリッド車およびEV(電気自動車)にとって重要な駆動力となる。部品構成は複雑で、特化した専門知識を要する。BMWマニュファクチャリング・タイランドのウーヴェ・クアス専務は次のように語る。 「BMWグループの基本的な展望は、EVによって満たされる未来社会というものです。高電圧バッテリーの生産において、当社はコストの安い魅力的なバッテリーを作る自信があり、タイで伸び続けるEV市場の大きなニーズをつかむでしょう。またラヨーン県のBMW工場のサポート体制も強化され、アセアン地域の旗艦生産基地の効率化が一層進みます。今回、ミュンヘンのBMWグループの専門家が新工場においてバッテリー生産技術の土台を築いたのは、タイのBMW工場の生産工程の標準を、BMWの世界標準と一致させるためです。将来の開発に向けた出発点となる工場であり、基礎を堅固にしなければなりません」  同社ではこのほか、ドイツ南部にあるBMWのディンゴルフィング工場において、高電圧バッテリーの生産に関わる従業員の人材研修を進める。同工場はEVのパイロット生産工場であり、この研修によりバッテリー生産の最新かつ最高レベルの技術が従業員に与えられる。 「バッテリー製造は、すでに第4世代の技術レベルに進化しています。レーザーによる連結、プラズマ表面処理された部材、着脱関連のロボット科学、エレクトロニクス使用の自動光学検査(AOI)、電気システムによるワーク検査、工程最後の最終検査などハイテクとの連結が重なります」  自動生産工程に関する人材研修プログラムは、総合的な品質検査、工程設計、生産技術、品質改善、工程分析など全体的な技術の理解と応用力を高めるものであり、バッテリーモジュール生産に必須の重要プログラムとなる。  研修課程を終え、バッテリー生産の基本レベルの技量を身につけた研修生は、アジアから輸入されたバッテリーセル部品を扱う仕事につく。アルミ枠、エレクトロニクス電線回路システムなど、多様な部品を扱って実地に経験を積むためだ。 「レベルの高いバッテリーの組立には、BMWグループの標準での理解と応用が必要です。特にタイ国内メーカーの部品を使用する際の規定を習得してもらいます」  高電圧バッテリー本体の組立が終わると、製品はラヨーン県のEV工場に送られ、BMWシリーズ5モデルのハイブリッド車に組み付けられる。タイBMWグループは、2019年7月に第1フェーズとしてアマタシティー工業団地(ラヨーン県)で工場をスタートさせたが、実際には2017年からプラグイン・ハイブリッド車(PHV)を生産している。330e、530e、X5xDrive40e、740Leの4モデルだ。 「先に述べたような協力関係を通じて、事業パートナーとしてのドラクスルマイヤーの重要性はますます強まっています。実際、両者のパートナー関係はすでに53年の歴史があります。当社は組立メーカーで、あちらは部品メーカーという確固たる関係です。世界的に定評のある部品メーカーであり、組立メーカーのBMWにとってはなくてはならない最新のソリューションに長じた事業パートナーです。EV、エレクトロニクス・システム、車体設計、バッテリーシステムなどにおいても実に頼りになります」  タイBMWグループは、BOIの投資奨励プロジェクトの認可を受けている。7億バーツを投資するプラグイン・ハイブリッド車の生産プロジェクトであり、その投資の一部をドラクスルマイヤーとの合弁事業にまわす。 「タイの高電圧バッテリー工場に5億バーツを投資します。今回の成功は、タイの自動車産業の進歩へのささやかな貢献となるでしょう。タイを舞台とする官民協力が、今後のEVの発展の道を開くのです」

2019年11月1日掲載

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดตัวโรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงสำหรับบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปแห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอชลบุรี2ภายใต้ความร่วมมือกับแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก โรงงานแห่งนี้ครอบคลุมในส่วนของการประกอบโมดูลแบตเตอรี่และการประกอบตัวแบตเตอรี่ และได้เริ่มต้นสายการประกอบตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยแบตเตอรี่แรงดันสูงเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ประเภทไฮบริดหรือรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ทักษะเฉพาะด้านในการผลิต คุณอูเว่ ควาส (Mr. Uwe Quaas) กรรมการผู้จัดการ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย กล่าวว่า “บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มีวิสัยทัศน์หลักคือการขับเคลื่อนสังคมไปสู่อนาคตแห่งยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าโดยการเริ่มประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงในประเทศจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราสามารถลดต้นทุนและสร้างแรงจูงใจรวมถึงตอบโจทย์ความต้องการในตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังถือเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้แก่โรงงานBMWในจังหวัดระยองซึ่งเป็นศูนย์กลางการประกอบรถยนต์ในภูมิภาคนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ผู้เชี่ยวชาญจากบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มิวนิค ได้ร่วมวางรากฐานกระบวนการประกอบแบตเตอรี่ที่โรงงานแห่งใหม่ของแดร็คเซิลไมเออร์กรุ๊ปเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการประกอบในประเทศไทยสอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพระดับโลกของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปและเพื่อวางรากฐานสำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต นอกจากนี้ บุคลากรจากแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ได้เข้าร่วมโปรแกรมอบรมและพัฒนาบุคลากรเพื่อการประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูง ณ โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปในเมืองดิงกอลฟิงและโรงงานนำร่องการผลิตระบบการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีความพร้อมแล้วสำหรับการประกอบแบตเตอรี่ที่ต้องใช้ทักษะความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำสมัยเพื่อการประกอบแบตเตอรี่อันเป็นเทคโนโลยีล่าสุด (เจนเนอเรชั่นที่ 4) เช่น การเชื่อมด้วยเลเซอร์ การเตรียมพื้นผิววัสดุด้วยพลาสมา วิทยาการหุ่นยนต์ กระบวนการยึดติด การตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ (AOI) การตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าและการตรวจสอบคุณภาพเมื่อสิ้นสุดสายการผลิต โปรแกรมการอบรมดังกล่าวยังครอบคลุมทักษะในการทำงานกับกระบวนการผลิตอัตโนมัติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญ ในการประกอบโมดูลแบตเตอรี่ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพโดยรวมการออกแบบกระบวนการและเทคโนโลยีการผลิต การปรับปรุงแก้ไขคุณภาพ และการวิเคราะห์กระบวนการผลิต เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญด้านการประกอบแบตเตอรี่แล้วบุคลากรที่ผ่านการอบรมข้างต้นจะได้ทำงานกับชิ้นส่วนอย่างเซลล์แบตเตอรี่ที่นำเข้าจากผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียพร้อมด้วยชิ้นส่วนแบตเตอรี่นำเข้าอีกมากมาย ทั้งโครงอะลูมิเนียม ระบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์และสายไฟเพื่อประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงที่ได้มาตรฐานระดับโลกของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ปและเป็นไปตามข้อกำหนดด้านการใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศของประเทศไทย ส่วนกระบวนการเมื่อประกอบตัวแบตเตอรี่แรงดันสูงแล้วเสร็จแบตเตอรี่แรงดันสูงเหล่านี้จะถูกส่งไปยังโรงงานบีเอ็มดับเบิลยูที่ระยองเพื่อนำไปติดตั้งในรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในตระกูลบีเอ็มดับเบิลยู ซีรี่ส์ 5 ซึ่งได้เริ่มต้นเฟสแรกไปแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาขณะที่โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง ได้ประกอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดตั้งแต่ปี 2560 โดยทำการประกอบมาแล้ว 4 รุ่นด้วยกันคือ บีเอ็มดับเบิลยู 330e บีเอ็มดับเบิลยู 530e บีเอ็มดับเบิลยู X5 xDrive40e และบีเอ็มดับเบิลยู 740Le ทั้งนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำหรับการลงทุนประกอบรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดมูลค่า700 ล้านบาท และบริษัทฯ ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาร่วมลงทุนกับแดร็คเซิลไมเออร์ กรุ๊ป ประเทศไทย เพื่อพัฒนาโรงงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูงที่มีมูลค่าการลงทุน500 ล้านบาทซึ่งความสำเร็จครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศและแสดงถึงความร่วมมืออันดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อนาคตแห่งยนตรกรรมไฟฟ้าที่ยั่งยืนต่อไป

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事