GO!GO! タイローカル工場
第8回 国王ご考案のプロジェクトの数々
今回は、先日崩御された国王陛下のご功績を振り返りたいと思います。アグロインダストリー分野における国王陛下のご活躍は、1961年に始まり長きにわたって続きました。全国の農家を巡られ、農家の苦労や困難を実際に目にされました。市場の変動による農産物の値下がりが主な原因です。国王陛下はチトラダ離宮の実験農園プロジェクトで開発された成果のもとに、国王陛下のお考えを具現化する工場や農園の各種プロジェクトを、王室の管理地をはじめ全国各地に展開されました。生産物は商品化され、市場に流通し、また副産物は環境保護のために再利用されました。主要なプロジェクトを以下に紹介します。
国王陛下はチトラダ離宮内において各種のプロジェクトを進められました。それらは主に2つに大別されます。
- 事業化を考えないプロジェクト
農業生産の効率化を進めるために各種の実験を試みるもので、農民の自立、生活水準の向上を目的としていました。農業のほかに天然資源の保護にもまたご関心を注がれ、川魚(プラーニン)、実験林、陸稲栽培、バイオガス、有機肥料、繊維向け作物、ハーブ栽培、土地に頼らない海苔の栽培などの各種のプロジェクトを進められています。
- 事業化につながるプロジェクト
農産物の商品加工の各種の実験、試作を進めるもので、利益に重きをおかない手頃な価格で商品を売り出されました。安価な良品ということで、メイドイン・タイランド普及の意図も込められています。チトラダ乳牛舎、藁切り圧縮作業場、実験ラボ、果汁製造所、ドゥシット顆粒ミルク工場、果物乾燥場、アルコール蒸留所、バター製造所、精米所、キノコ栽培所、魚餌製造所、サー(伝統紙)製作所、蝋燭製作所などの各種のプロジェクトが進められています。
また、国王陛下は食品工場を構想され、農家の自足的な収入ないしは地域の開発を進めるため、営利を目的としない運営を望まれました。国民生活を向上させるため農業を基盤とする生産工場という理念です。王立食品工場は地域内での自給自足を進めるものです。そしてコミュニティー内の農業協同組合、公衆衛生、その他の部署と連携して営まれています。
最初の王立食品工場はチェンマイ県ファーン郡に作られました。山岳民族が栽培した米の出荷の調整が困難だったためです。山岳民族の稲田は遠隔地にあるので、街から来る仲買人に買い叩かれるのが常でした。また一度に市場に出せば値が崩れて損失になってしまうこともありました。そこで国王陛下は生の米を食品に加工して市場に出すことをお考えになり、カセサート大学農学部にプロジェクトを託されました(現アグロインダストリー学部)。山地民族が栽培した米は科学技術が導入されて加工食品となり、市場の価格変動や他の工場との競争の波を受けずに安定した収入源となっています。
王立食品工場の運営方針は4つ、第1に工業向けの農産システムによる作物栽培を進め、地域内にアグロインダストリーのベースを築くこと。第2にコミュニティー内で農産加工を完結すること。第3に農産品、農産加工品の確かな市場をつくること。第4に農業面、生産面、経営管理面の人材の育成と結合をコミュニティー内で実現することです。
王立食品工場は現在、チェンマイ県ファーン郡とチェンマイ大学構内、チェンライ県、サコンナコン県、ブリーラム県の5カ所に展開しています。当初、これらの工場は王立プロジェクトと国王陛下のお考えによる開発プロジェクトの2つの性格を備えてスタートしました。とりわけ北部タイの工場は国王陛下による山地民族支援プロジェクトとしての性格が濃厚で、ピーサデート・ラチャニー殿下の管理下にありました。またイサーンの工場は国王陛下の強いお考えによるもので、ジャクラパン・ペンシリ殿下の管理下にありました。
これまでに2,000件を超えるロイヤルプロジェクトが進められています。最初のプロジェクトは実に1952年、プラチュアップキリカン県ヒンレック村に誕生しました。国王陛下はフアヒンの街に向かう「フワイモンコン通り」を造成され、沿道の村落の農産物とフワヒンの市場を結びました。そのためこの道路は「モンコン通り」と呼ばれています。実に国民の苦労を減らし、幸福を増やす最初の道路が造られたのです。それ以降も各地のプロジェクトにより、僻地の人々を中心にタイ全土にわたって国王陛下の慈愛が浸透することになりました。
ロイヤルプロジェクトは同研究開発センターが中心となり、各方面からの研究成果を集め、実情に即した応用方策を研究しています。各種の実験結果をもとに、国民に実践的な技術移転が進められています。成功例、成功体験は次々に広められ、広範な展開が進みます。各地の研究開発センターも国民に生きた知識を注入する「実生活の自然博物館」としての機能を発揮しています。
アグロインダストリー関連のロイヤルプロジェクト研究開発センターは6カ所あり、全国4地方に展開しています。第1に1982年に発足したナラティワート県のピクントーン研究開発センター、第2に1982年に発足したサコンナコン県のプーパーン研究開発センター、第3に1984年に発足したチェンマイ県フワイホーンクライ研究開発センター、第4に1982年に発足したペチャブリ県のフワイサーイ研究開発センター、第5にチャチュンサオ県のカウヒンソーン研究開発センター、第6に1985年に発足したチャンタブリ県のアーウクンクラベン研究開発センターです。
以上のうち、ピクントーン研究開発センターとプーパーン研究開発センターの2カ所がアグロインダストリーの研究成果を上げています。国王陛下は食品、包装関連の科学技術に注目され、バイオ技術も含めて先進的な科学のご研究を進められました。それは先進技術の適切な移転により国民生活の向上を目指す実用的なものであり、大きくはアグロインダストリーの発展ないしは国の経済の繁栄を目的としていました
国内産業の開発を進め、自立による繁栄に至るという国王陛下のご意思により、バランスの良い地域の発展が進み、アグロインダストリーの開発により国民生活の向上につながっています。国の繁栄は国民が安定した生活を手にすることが基本であり、ここに着目された国王陛下のご慧眼が実証されています。
พระราชกรณียากิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียากิจทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรอย่างต่อเนื่องและยาวนาน นับตั้งแต่พุทธศักราช 2504 เป็นต้นมา เพื่อช่วยให้ประชาชนได้มีความสุขสมบูรณ์ เริ่มจากการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมพสกนิกรทุกหมู่เหล่าทั่วทั้งแผ่นดิน ได้ทรงรับรู้ถึงปัญหาและความทุกยากของเกษตรกร อันเนื่องมาจากผลิตผลล้นตลาดและราคาตกต่ำ พระองค์ทรงหาแนวทางที่จะช่วยแก้ไข จึงมีพระราชดำริให้จัดทำโครงการต่าง ๆ มายมายภาย ใต้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา โครงการโรงงานหลวงสำเร็จรูป และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระองค์ทรงจัดทำโครงการตัวอย่างทั้งในเขตพระราชฐานและทั่วทุกภูมิภาคนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูป ให้เป็นผลิตภัณฑ์ ตลอดจนนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายและใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้และวัสดุเหลือทิ้ง อันช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม นับเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอย่างครบวงจร โดยจะได้บอกเล่ารายละเอียดของแต่ละโครงการดังต่อไปนี้
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อเป็นโรงงานตัวอย่างและพระราชทานโอกาสให้บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่สนใจ “ดูกิจการได้ทุกเมื่อ” ลักษณะของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ
- โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เป็นโครงการสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร ทรงให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยมีแนวทางที่สำคัญคือ ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ทางด้านอาหาร และสนับสนุนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร อีกทั้งเน้นการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการเหล่านี้ได้แก่ โครงการเกี่ยวกับปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลองข้าวไร่ การผลิตแก๊สชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สวนพืชสมุนไพร สาหร่ายเกลียวทองโครงการทดลองปลูกพืชโดยปราศจากดิน
- โครงการกึ่งธุรกิจ เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร มีการจัดผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยาในรูปแบบที่ไม่หวังผลกำไร แต่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพและราคาไม่แพง โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงบดและอัดแกลบ ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงอบผลไม้ โรงกลั่นแอลกอฮอล์ โรงเนยแข็ง โรงสีข้าว โรงเห็ด โรงอาหารปลา โรงผลิตกระดาษสา และโรงหล่อเทียนหลวง
โครงการโรงงานหลวงสำเร็จรูป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริในการจัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป มิได้มีวัตถุประสงค์ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อแสวงหากำไรดังเช่นโรงงานทั่วไป แต่เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชน นับเป็นพระปรีชาญาณในการอาศัยอุตสาหกรรมเกษตรช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ทรงจัดตั้งขึ้นนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีกิจกรรมทางด้านสังคมต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนที่โรงงานนั้น ๆ ตั้งอยู่ ดังนั้นในการจัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป จึงมักจะเป็นการจัดตั้งโรงงานควบคู่ไปกับกลุ่มสหกรณ์การเกษตร สถานีอนามัยและหน่วยงานอื่น ๆ
การจัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น เริ่มที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีสาเหตุเนื่องมากจากชาวเขาในโครงการเกษตรที่สูงประสบปัญหาในการหาตลาดรับซื้อผลิตผล ทั้งนี้เนื่องจากสถานที่เพาะปลูกของชาวเขาอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง พ่อค้าที่มารับซื้อผลผลิตจึงสามารถกดราคาได้ตามใจชอบ ประกอบกับในบางช่วงฤดูจะมีผลผลิตที่ล้นตลาดหรือบางครั้งอาจไม่ได้ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการนำมาจำหน่ายสด มีผลผลิตการเกษตรที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ให้สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตร (ปัจจุบันสังกัดคณะอุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งโรงงานแปรรูปอาหารจากผลิตผลที่ได้จากชาวเขา เพื่อช่วยในการพยุงราคาผลผลิตและป้องกันการเอาเปรียบจากโรงงานอื่น
การดำเนินงานของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปมีแนวทางดังนี้ คือ 1. ส่งเสริมการปลูกพืชในระบบเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม สร้างความพร้อมด้านเกษตรอุตสาหกรรมให้เกิดในพื้นที่ชนบท 2.แปรรูปผลิตผลเกษตรในพื้นที่ชนบท 3. สร้างตลาดรองรับผลิตผลเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่แน่นอน 4. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่ชนบทที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านเกษตร ด้านการผลิต และด้านการจัดการ
โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปมีทั้งหมด 5 แห่งคือ1. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 2. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 3. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร 4. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ตำบลโนนดินแดง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ 5. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ในระยะแรกของการจัดตั้งนั้น โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปเหล่านี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสองโครงการ คือ โครงการหลวง และโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ โดยโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปในภาคเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาหารสำเร็จรูปในพระบรมเดชานุเคราะห์ชาวเขา ภายใต้ความควบคุมของม.จ. ภีศเดช รัชนี ส่วนโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ ภายใต้ความควบคุมของ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขอาณาประชาราษฎร์ มีมากกว่า 2,000โครงการ สำหรับโครงการแรก เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็ก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตัด “ถนนสายห้วยมงคล” ออกสู่ตลาดหัวหินเพื่อให้เกษตรกรได้มีถนนเพื่อนำผลิตผลเกษตรออกไปสู่ตลาด ถนนสายนี้ถือเป็น “ถนนมงคล” สายแรกเริ่มเป็นเส้นทางบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ที่ทอดไปสู่ “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” อื่น ๆ ทั่วทุกภูมิภาคในเวลาต่อมา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ นำพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่ไปสู่ชนบทและชุมชนของไทย ตลอดจนของประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทั่งมีคำกล่าวไว้ว่า “ไม่มีที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยย่างพระบาทไปถึง”
เมื่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขยายออกไปนับร้อยนับพันโครงการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้มี “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เพื่อเป็นศูนย์รวมของการศึกษาค้นคว้าทดลองวิจัยแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการประกอบอาชีพของราษฎรที่อาศัยในภูมิประเทศนั้น ๆ เมื่อค้นพบพิสูจน์ว่าได้ผลแล้ว จึงนำผลที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ราษฎรเพื่อพัฒนาพื้นที่ใกล้เคียง จนกระทั่งขยายผลแผ่กระจายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ เพื่อให้การพัฒนามีความสำเร็จอำนวยประโยชน์สูงสุดแก่ราษฎร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาทุกแห่ง จึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตร ปัจจุบันมี 6 ศูนย์ กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั้ง 4 ภาค ได้แก่ 1.ศุนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดนราธิวาส เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2525 2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดสกลนคร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2525 3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2527 4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดเพชรบุรี เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2525 5.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จังหวัดจันทบุรี เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2528
ในบรรดาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเหล่านี้มีจำนวน 2 ศูนย์ที่มีผลงานการวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร สำหรับอุตสาหกรรมระดับครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การบรรจุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาการสมัยใหม่มามาประยุคต์ใช้เพื่อส่งเสริมอาชีพของราษฎร และทรงเป็นแบบอย่างในการถ่ายทอดวิทยาการแก่ประชาชน ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร และส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญรุดหน้าแบบยั่งยืน
พระราชกรณียากิจในการส่งเสริมอาชีพ ช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเพิ่งพาตนเองได้และพัฒนาชุมชนให้ควบคู่กันไปนั้น นับเป็นพระปรีชาญาณอันสูงส่งเป็นเลิศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการนำอุตสาหกรรมเกษตรไปช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น เป็นพระมหากรุณาธิคุณเกื้อกูลพสกนิกรให้มีชีวิตที่มั่นคง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความเจริญยั่งยืนของประเทศ