GO!GO! タイローカル工場

第18回 Dow Thailand Group

ダウはタイ初の分析センターをオープン インダストリー4.0へ新技術の研究を開始

国内の一流研究者が集まったダウ・タイランドグループは、ダウ・ケミカル・タイランドグループとSCGダウグループから構成され、アジア太平洋地域最大の化学製品の生産基地を形成している。同時に農薬も含めた多様な化学製品の輸入も行っている。目標は、新鮮な食品の不足、輸送問題、安全性などの問題の解決である。また産業界のリーダーとして、多くの場面で市場を動かしている。同社の従業員は現在65,000人、世界34カ国189カ所の工場で7,000種を超える製品を作っている。

ダウ・タイランドグループのカンチャナー・ウンアーロム品質保証部長は「この度、当社はラヨーン県のアジア工業団地内に製品・技術開発分析センターをオープンしました。世界で6カ所ある研究施設の中の1つです。タイ政府の支援を受けたアジア太平洋地域で当社初の研究施設になります」と語る。同センターは2012年から活動を始めており、本格的な分析センターを建設する前に、各種の知識、技術の蓄積を進めてきた。今年になって正式にオープン。施設の建設などに3億4,000万バーツ(約1,000万ドル)を投じた。カンチャナー氏は「アジア太平洋地域の当社発展の原動力になるとともに、研究開発によってインダストリー4.0を推進する一助ともなります。科学的なレベルの高い分析技術をタイの産業界に移転することで、新世代の研究者を育成することにもつながります」と話す。

製品・技術開発分析センターが提供するサービスは、第1に錯綜した問題に対する高度な分析。例えば種類の不明な化学物質の明確な識別、新製品の開発、品質に関連した質問に対する回答など。第2に危険な化学反応の確実な分析。第3に生産工程内の問題解決のための専門家による的確なアドバイスとなる。

昨年から今年にかけて既に総額8億バーツ以上の付加価値向上に貢献した。産業界の安全性向上、生産工程の改善、問題解決、事業の成長・チャンスをつかむ状況分析などを行った結果である。

高度な分析を行う5つの技術がそろっている。第1に有機物質の分析にはガス・液体クロマトグラフィー、質量分析法を使う。第2に有機および一般の化学物質には滴定、蛍光X線、誘導結合プラズマ、元素分析の各技術を使う。第3に光学的には、赤外分光法および紫外分光法を用い、第4に微生物の分析には光学顕微鏡を使用する。第5に化学反応の分析は化学反応で発生する音の測定のことで、24時間以内に結果を出す緊急対応をする。

カンチャナー氏は「2018~20年まで、同センターでは生産工程の効率化、製品の開発改善を進める新技術の研究を進めます。導入する新技術は非揮発性物質の種類を識別する構造分析、金属の種類を識別する高度な表面検査・分析、プラス・マイナスのイオンの量の分析測定、温度測定などです。また新技術・製品の開発のために一流大学と協力して、分析技術に優れた問題解決能力の高い学生を育成し、国のために可能性の高い研究者・専門家の卵の層を厚くします」と構想を話す。

 

 

ดาว เปิดศูนย์วิเคราะห์แห่งแรกในไทย

พร้อม เดินหน้าคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ สู่อุตสาหกรรม 4.0

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กลุ่มวิทยาศาสตร์ชั้นนำในประเทศ ประกอบด้วย กลุ่มบริษัท ดาว   เคมิคอล ประเทศไทย และกลุ่มบริษัทร่วมทุน เอสซีจี-ดาว ถือเป็นฐานการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นผู้นำในการนำเข้าเคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมที่หลากหลาย รวมไปถึงเคมีภัณฑ์ที่การเกษตร โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา เช่น การขาดแคลนอาหารสดใหม่ การคมนาคมขนส่ง และความปลอดภัย นอกจากนนี้ยังเป็นผู้นำอุตสาหกรรม ในการขับเคลื่อนตลาดในหลายแขนง ปัจจุบันดาวมีจำนวนพนักงานกว่า 56,000 คน มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 7,000 กลุ่มรายการ ซึ่งผลิตจากโรงงาน 189 แห่ง ใน 34 ประเทศทั่วโลก

คุณกาญจนา อุ่นอารมณ์ ผู้จัดการฝ่ายประกันและควบคุมคุณภาพ กลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน กลุ่มดาว ประเทศไทย ได้เปิดศูนย์วิเคราะห์พัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ ที่พื้นที่โรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมเอเชียจังหวัดระยอง ถือเป็นหนึ่งใน 6 ศูนย์ ฯ ทั่วโลก และเป็นศูนย์แห่งแรกในแถบเอเชียแปซิฟิกของ ดาว เคมีคอล จากการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ดังนั้นศูนย์การวิเคราะห์ ฯ จึงสามารถก่อตั้งและเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2555 เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่าง ๆ  ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างศูนย์วิเคราะห์ ฯ แห่งใหม่ ที่เปิดดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบใน ปี 2560 ซึ่งมีมูลค่าในการก่อสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีรวมทั้งสิ้นมากกว่า 340 ล้านบาท หรือราวประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ  อีกทั้ง ยังช่วยสนับสนุนการเติบโตของดาว ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีด้านการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ให้กับบุคลากรของไทย รวมทั้งการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ให้กับประเทศ

ทั้งนี้ การบริการของศูนย์วิเคราะห์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์ขั้นสูงสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การวิเคราะห์เพื่อระบุสารเคมีที่ไม่ทราบชนิด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การตอบคำถามด้านคุณภาพและตอบคำถามเพื่อความพึงพอใจของลูกค้ารวมไปถึงการวิเคราะห์ด้านชีวอนามัย 2. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เชิงปฏิกิริยาเคมีแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิกของ ดาว รองรับการระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นของปฏิกิริยาเคมี 3. การให้คำปรึกษาด้านการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงหรือแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต

นับตั้งแต่ ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์วิเคราะห์ ฯ แห่งนี้สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของบริษัท ฯ เป็นเงินกว่า 800 ล้านบาท หรือประมาณ 24 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่านการดำเนินงานและการบริการต่าง ๆ คือ การดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยภายในอุตสาหกรรม การปรับปรุงขบวนการผลิต การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต การวิเคราะห์ด้านคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้า การวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน และการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการเติบโตและโอกาสทางธุรกิจ

ส่วนเทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูง ประกอบด้วย 5 ด้านด้วยกัน คือ 1. การวิเคราะห์สารอินทรีย์ ใช้เทคนิค Cas Chromatography, Liquid Chromatography, Mass Spectrometry 2. การวิเคราะห์สารอนินทรีย์และเคมีทั่วไป ใช้เทคนิค Titration, X-ray Fluorescence, Inductively Coupled Plasma, Elemental Analysis 3. การวิเคราะห์เชิงแสง ใช้เทคนิค Infrared and Ultraviolet Spectroscopy 4. การวิเคราะห์เชิงจุลทรรศน์ ใช้เทคนิค Optical Microscope 5. การวิเคราะห์เชิงปฏิกิริยยาเคมี คือ การประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางเคมี เพื่อรองรับการวิเคราะห์การตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมง

สำหรับในอนาคต คุณกาญจนา กล่าวต่อไปว่า ในปี 2561-2563 ศูนย์แห่งนี้ยังช่วยคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้การผลิตมีความน่าเชื่อถือ โดยจะมีการเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา คือ 1. การวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อระบุชนิดของสารที่ไม่ระเหย 2.การตรวจสอบพื้นผิวขั้นสูงรวมถึงการวิเคราะห์เพื่อระบุชนิดของธาตุ 3. การวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณไอออนบวกและลบ 4. การเตรียมตัวอย่างขั้นสูง (การย่อยตัวอย่าง) 5. การพัฒนาวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ 6. การวัดความร้อนและการวิเคราะห์เชิงอุณหภูมิขั้นสูง ผ่านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับปริมาณวิเคราะห์

นอกจากนี้ ศูนย์วิเคราะห์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ในการพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มีองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาและเทคโนโลยีการวิเคราะห์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักวิจัยที่มีศักยภาพและสร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพระด้านในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น

 

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事