GO!GO! タイローカル工場
第26回 UACJ(Thailand)Co., Ltd.
130億バーツ投じてフェーズ3建設 来年中に年産30万トンを目指す
世界第3位のアルミニウムのメーカー、UACJのタイ工場はアセアン地域で最も体系化された工場を持つ。ラヨーン県の313ライの敷地で2015年から操業している。
UACJの岡田満社長(当時)は「当社は成型アルミ材、アルミニウム箔、熱延鋼板、銅管など、各種の工業用の非鉄・鉄鋼製品のメーカーで、当初より最新技術の導入による生産を進め、日本で培った技術と経験による事業計画をタイで実践しています」と語る。
世界的な企業として、UACJは各地の顧客に対して最高の品質の商品を届けることをモットーとする。そこでラヨーン工場の第3フェーズのプロジェクトに130億バーツの投資を進めることを決断。飲料メーカーの旺盛なアルミ缶需要の伸びに応える。当初は輸出が90%になり、主に米国、アセアン向けに出荷される。タイ国内向けの10%は、タイ・ビバレッジ、ペプシ、コカ・コーラ、その他のドリンク・メーカーに提供される。
また、航空機部品のサプライチェーンの一角に投資を拡大する展望を持つ。東部のウタパオ国際空港内ではタイ航空とエアバス社が航空機保全修理センター(MRO)を建設する計画だ。
「とりわけドリンク用アルミ缶の需要は世界的に衰えを知りません。もともと車の熱交換機用のアルミ部材、電機電子向けの部材に力を入れており、現在の製品の70%がこれらの製品です。米国、アセアン、中東に輸出され、30%がタイ国内に供給されています。またカナダ、ロシアからイノベーションの導入を行っています」と話す。
今回の投資計画は3~5年のスパンで進められる。生産基地としての地盤を固め、迅速な成長を目指す。プロジェクトが成功すれば、アルミニウムの生産高は年産30万トンのレベルに到達する。投資計画の中心には、グローバル・ハブとして位置づける本社の展望がある。アセアン地域のベースとなるR&Dも運営。日本国内の巨大なアルミ生産基地に匹敵する、多様な製品の生産基地を建設し、世界に向けた優良品の供給を進める。
UACJ ทุ่มงบ 13,000ล้าน สร้างเฟส 3
หวังเพิ่มกำลังผลิตอลูมิเนียม 300,000 ตันต่อปี ภายในปี 62
บริษัท UACJ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตอลูมิเนียมครบวงจรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ที่สมบูรณ์แบบที่สุดแห่งแรกในภูมิภาคนี้ ซึ่งเริ่มดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี 2015 บนพื้นที่ 313 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะชิตี้ จังหวัดระยอง
นาย Mitsuru Okada ประธานบริหาร UACJ กล่าวว่า UACJ เป็นบริษัทผู้ผลิตอัดขึ้นรูป, ฟอยล์, เหล็กรีดร้อน ท่อทองแดง แปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ นับตั้งแต่เริ่มการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ความสามารถในการวางแผนธุรกิจ และความรู้ความเข้าใจในสถานที่ปฏิบัติงานที่ได้บ่มเพาะมาเป็นเวลานานที่ประเทศญี่ปุ่นมาพัฒนาต่อยอดที่ประเทศไทย
ในฐานะหนึ่งในบริษัทระดับโลก บริษัท UACJ มุ่งที่จะเติบโตเป็นบริษัทที่ให้บริการสินค้าคุณภาพสูงแก่ลูกค้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้นบริษัทจึงตัดสินใจลงทุนดำเนินธุรกิจในระยะที่สาม
โดยวางงบประมาณลงทุนถึง 13,000 ล้านบาท เพื่อขยายในส่วนของไลน์การผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมรองรับกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำดื่ม โดยเบื้องต้นจะส่งออกต่างประเทศสัดส่วน 90% ไปยังตลาดหลัก ได้แก่ อเมริกา และอาเซียน ขณะที่ตลาดน้ำดื่มในประเทศ 10% นั้น ส่งให้กับพาร์ตเนอร์หลายราย เช่น ไทยเบฟเวอเรจ เป๊ปซี่ โคคา-โคลา และผู้ผลิตกระป๋องต่าง ๆ
พร้อมกันนี้ บริษัทยังมีแนวคิดที่จะขยายการลงทุนให้กับซัพพลายเชนป้อนชิ้นส่วนอากาศยาน หลังจากที่โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ของการบินไทยและแอร์บัสเกิดขึ้นในสนามบินอู่ตะเภาด้วย
อย่างไรก็ตาม แผนการลงทุนของบริษัทจำเป็นต้องรองรับความต้องการในตลาด โดยเฉพาะตลาดน้ำดื่มที่มีอัตราการขยายตัวสูงมาก ดีมานด์เพิ่มขึ้นทุกปี การตัดสินใจลงทุนเพื่อขยายโรงงานผลิตกระป๋องที่ไทยครั้งนี้ส่งผลให้มีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์กระป๋องถึง 90% จากเดิมที่เน้นผลิตตัวแลกเปลี่ยนความร้อนในรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่สัดส่วนการส่งออกต่างประเทศ 70% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ประเทศเป้าหมายเตรียมส่งออกไปสหรัฐ อาเซียน ตะวันออกกลาง ที่เหลือขายในประเทศ 30% ขณะที่ปัจจุบันยังคงนำวัตถุจากประเทศรัสเซีย และแคนาดา
แผนการลงทุนดังกล่าวมีกรอบระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า ตามแผนลงทุน UACJ ประเทศไทย ที่มุ่งจะเสริมสร้างรากฐาน เร่งเติบโตแบบก้าวกระโดด หากสำเร็จจะช่วยขยายกำลังการผลิตอะลูมิเนียมในไทยให้ได้ 300,000 ตัน/ปี และเพิ่มยอดขายเติบโตปีละ 10-15% โดยการลงทุนนี้เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทแม่ที่มุ่งเข้าสู่ global hub หรือการเป็นกลุ่มอะลูมิเนียมรายใหญ่ที่มีกำลังการแข่งขันในระดับโลก ที่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นฐานผลิตที่สามารถป้อนวัสดุอะลูมิเนียมหลากหลายชนิด ให้ได้เทียบเท่ากับฐานผลิตในญี่ปุ่น รวมถึงการสร้างศูนย์ R&D สินค้าอะลูมิเนียมที่จะเป็นฐานในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย