「日本の技」の伝承にドコモのソリューション 5Gリアルタイム遠隔指導サービスをタイの産業人材育成に役立てる

新型コロナウイルスの感染拡大ですっかり人的交流が途絶えてしまったタイのモノづくりの現場。これまでは日本の熟練技術者らがはるばる渡航し、若きタイ人エンジニアたちの人材育成としてOJT(On the Job Train
ing)による実践的な実技指導を行うことがあたりまえであった。ところが、新型コロナウイルスの蔓延によって国境は事実上封鎖。これまでのOJTが困難となり、タイの産業人材育成の大きな課題となっている。こうした状態をテクノロジーを使って乗り越えようという試みが今、日本の通信大手NTTドコモ・グループによって進められている。人材育成に限らず、工場視察や在庫監査座学や各種実験などへの活用も期待される。

■ 5Gの高速・大容量・低遅延が可能にする新たな産業人材育成術とは

NTTドコモとタイの現地法人Mobile Innova tion Co., Ltd.が、日本の一般財団法人「海外産業人材育成協会」(AOTS)とともに共同で進めているのが「5Gリアルタイム遠隔指導サービスを利用したリモート研修支援」の試みだ。高速・大容量・低遅延の第5世代移動通信システム「5G」通信と、スマートグラスや360度カメラといったスマートデバイスとを組み合わせた、国境を超えた新世代の産業人材育成支援事業だ。

講師役の日本人技術者が5Gリアルタイム遠隔指導サービスで日本から教育指導。遠くタイにある工場や建設現場などで、タイ人エンジニアたちが「日本の技」の伝承を受けるという仕組みだ。  新型コロナウイルス感染防止はもちろん、遠隔指導が前提となることから移動時間等の制約を受けず、柔軟に教育指導の頻度を高め、受講者の参加状況の記録、アーカイブ配信による反復学習等、教育指導の質向上を実現する。将来的には、学校の授業や病院での臨床指導、イベント・会議など多種多彩な分野での転用が見込まれている。

■ さまざまなスマートデバイスと5Gの組合せが強み

主要デバイスの一つが、100%ハンドフリー・スマートグラス「RealWear」だ。高性能カメラとモニタを搭載し、ヘルメットにも装着できる。タイ人エンジニアたちが目視したものと同じライブ映像や、撮影した写真、動画を日本側と瞬時に共有する。難しい操作は一切不要。優れた音声認識機能がユーザーの言葉による指示を瞬時に理解し、ハンドフリーで様々な操作を可能にする。英語はもちろん、日本語も認識できる。しかも、大容量バッテリーの長時間駆動。オンライン会議など大人数での活用にも十分に有用だ。

もう一つは、ぐるりと360度の空間情報をリアルタイムで共有できるソリューション「AVA TOUR(アヴァツアー)」も優れた威力を発揮する。タイでも入手が容易な市販製360度カメラとスマートフォンがあれば簡単に構築が可能。見る側はもっと簡単だ。通常のパソコンのブラウザでもこの360度映像を視聴できるし、どこの大手電気屋でも購入できるVRグラスが使えればもっと没入感のある映像体験ができる。いずれも目の前に広がる3次元のバーチャル空間を前に、日本側の技術者らは日本にいながらにしてタイの現場にいるかのような感覚で自在に視点を変え、指示を出すことができる。

更に、ドローンによる空撮も人材育成に応用できるほか、独自技術によりリアルタイムでの映像配信とメッセージ送受信も可能になり、日タイ両サイドで切れ目のない情報共有を実現する。例えば、工場や住宅等の建設予定地とその周辺環境の遠隔視察、エネルギープラント等の煙突内部やパイプライン内部の経年劣化状態の検査への活用。また、ドローンが撮影したデータを元に画像解析サービスと連携することで、3Dモデル化や異常検出といった自動化サービスの提供により、不具合や問題点なども手に取るように把握できる。日本側からの適切な改善指導や予防も容易となる。

これらを支えるのが5Gの通信網だ。タイでもこの1~2年、急ピッチで広がりを見せており、首都バンコクはもちろん、工業団地が立ち並ぶ東郊や北郊の首都圏エリアでも電波がカバーするようになった。1世代前の4G(LTE)と比べ最大で100倍の速さを誇る驚異的な速度。加えて低遅延、高い安定性。4Kや8Kなどの高画質動画対応といったエンタテインメント性ばかりが注目されてきた5Gだったが、タイにおいても工業・商業面での利用が着実に広がっている。

 

■ 顧客ニーズが基礎

5Gリアルタイム遠隔指導サービスおよび遠隔作業支援ソリューションは、Mobile Innovationがタイを含む東南アジア地域で手掛けていく新しい成長事業という位置づけだ。コロナ禍において、仮に日本から技術者を海外派遣する場合には各国の入国条件に沿った防疫措置が必要となり、容易には進められない。このままでは海外事業活動が止まってしまうという切実な顧客企業現場の声を受けて急ピッチでビジネス化が始まった。今ではそれに止まらず、日本人駐在員の削減や無駄を減らすといったトータルコストダウンと、環境保護の一環で近年キーワードになっている低炭素活動の促進にも効果があることが分かっている。「コロナ後にも継続する有益な新時代のサービスに育てたい」と担当するMobile Inno vationの寺岡 淳シニア・マネージャーは語る。

Mobile Innovationは日本の携帯通信会社大手であるNTTドコモの現地法人であり、タイではICTソリューションを提供する事業会社。2004年のサービス開始以降、力を入れてきたのは
GPS(全地球測位システム)を使った各種サービスの提供だった。運行車両に搭載し、ドライバーの異常の検知や車両の現在地情報を把握。これら情報に基づく保守管理や分析がタイ事業の始まりだった。やがてそれは、運行データに基づいた人事評価や重量課金型カーリースサービスといった付加価値サービスへとメニューを広げていった。現在ではさまざまなサービスのラインナップが提供されている。

そのいずれにも共通するのが、顧客ニーズに基礎を置いた提案型であったという点だ。「お客さまとの何気ない会話がアイデアとなり、新しいサービスの開発・提供につながってきた。機器の売り切りだけはしたくなかった」と話すのは営業担当の大島 良輔マネジャー。コロナ禍で面会の機会が少なくなった現在でも、メールや電話など可能な限りのコミュニケーションを図るよう心がけている。

■ 頼りになるタイ人スタッフ

同社の新たな柱として期待されるリアルタイム遠隔作業支援ソリューションには、頼りになるタイ人スタッフも参加をする。その一人、Senior Sales Consultantのピヤ・テールンルアン氏は、前職がシステムエンジニア。デジタルマーケティングにも関わった経験があり、そのスキルが買われての登用となった。「モノのインターネット(IoT)の活用は時代の趨勢。お客様の声を聞いて、より役に立つ提案をしていきたい」と語った。

女性スタッフの営業兼マーケティング担当アリサラ・ニンマラーさんは入社7年目の中堅社員。5G通信技術がもたらす可能性に胸を膨らませる一人だ。「新型コロナでタイ社会も大きく変わった。収束後もこの流れは変わらないだろう」と分析する。そのうえで、「取引先の悩みや相談事に耳を傾けること。それだけは変わらない」とも。彼女もまた提案型のソリューションビジネスで、新たな市場開拓を目指している。

MOBILE INNOVATION COMPANY LIMITED
No.128/224,227,228, 21st Floor, Payatai Plaza Building, Phayathai Road, Khet Rajthevee, Bangkok 10400
Mr. Atsushi Teraoka (JP/EN) Tel: +66 (0) 95 752-7608 E-mail: teraokaa@mobileinnovation.co.th
Mr. Ryosuke Oshima (JP/EN) Tel: +66 (0) 85 211-1946 E-mail: oshimar@mobileinnovation.co.th Tel: +66 (0) 2129-3800 Website: www.mobileinnovation.asia

โซลูชั่นของ Docomo เพื่อการถ่ายทอด “ทักษะจากญี่ปุ่น” การฝึกอบรมระยะไกลแบบเรียลไทม์ 5G เพื่อพัฒนาบุคลากรในสายงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย

จากที่ปกติวิศวกรผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น
จะเดินทางมาที่ไทยเพื่อจัดการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ หรือ OJT (On the Job Training) เพื่อพัฒนาบุคลกรชาวไทยรุ่นใหม่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พรมแดนระหว่างประเทศต้องถูกปิดไป ทำให้หลาย ๆ โครงการ OJT จัดไม่ได้หรือจัดได้อย่างยากลำบาก และสิ่งนี้กลายเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุตสาหกรรมของประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหานี้ NTT DoCoMo Group บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของญี่ปุ่นกำลังทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆเพื่อก้าวข้ามสถานการณ์นี้ ซึ่งจะเป็นความหวังใหม่ไม่เพียงแต่จะเพื่อการพัฒนาบุคลกรเท่านั้น แต่คาดว่ายังสามารถปรับใช้ในการเยี่ยมชนโรงงานการตรวจสอบสินค้าคงคลัง และการทดสอบต่าง ๆ ได้อีกมากด้วย

■ อะไรคือการพัฒนาบุคลกรวิถีใหม่โดยใช้เทคโนโลยี 5G ซึ่งมีความเร็วสูง รับส่งข้อมูล ได้มาก และความหน่วงต่ำ  

NTT DoCoMo และ บริษัทลูกในประเทศไทย Mobile Innovation Co.,Ltd. กำลังร่วมมือกับ “สมาคมพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุตสาหกรรมในต่างประเทศ” (AOTS) ของญี่ปุ่น เพื่อพัฒนา “การฝึกอบรมระยะไกลที่ใช้โซลูชั่นการฝึกสอนทางไกลแบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่าย5G” ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนการพัฒนาบุคลกรอุตสาหกรรมรุ่นใหม่แบบข้ามพรมแดน โดยใช้เทคโนโลยี 5G ซึ่งความเร็วสูงรับส่งข้อมูลได้มาก และความหน่วงต่ำ พร้อมกับการใช้งานอุปกรณ์อัจฉริยะ เช่น แว่นตาอัจฉริยะและกล้อง 360 องศา   กล่าวง่าย ๆ คือเป็นระบบที่ช่วยให้ วิศวกรชาวญี่ปุ่นหรือเทรนเนอร์ถ่ายทอดการฝึกอบรมจากญี่ปุ่น โดยใช้การสื่อสารทางไกลแบบเรียลไทม์ 5G เพื่อส่งต่อ”ทักษะจากญี่ปุ่น” มาให้วิศวกรชาวไทยที่อยู่ที่โรงงานหรือที่ไซต์งานในประเทศไทยนั่นเอง   นอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19แล้ว เนื่องจากเป็นระบบการฝึกอบรมระยะไกล ดังนั้นจึงไม่มีข้อจำกัดต่าง ๆ เช่นเรื่องเวลาเดินทาง หรือจำนวนครั้งการจัดอบรม การจัดการเวลาของการอบรมก็ทำได้อย่างยืดหยุ่น การบันทึกการเข้าอบรมของผู้เรียน การเข้าชมซ้ำได้หลาย ๆ ครั้งผ่านวีดีโอบันทึกการอบรม สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยยกระดับคุณภาพการอบรมให้ดีขึ้นได้ และในอนาคตคาดว่ายังจะนำไปปรับใช้กับงานอื่น ๆ ได้อีกหลากหลาย เช่น การเรียนการสอนในโรงเรียน การอบรมบุคลากรในโรงพยาบาลงานกิจกรรมและการประชุมต่าง ๆ เป็นต้น

■ การใช้อุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ ร่วมกับเทคโนโลยี 5G คือจุดขายที่สำคัญ

หนึ่งในอุปกรณ์หลักคือแว่นตาอัจฉริยะ “RealWear” ซึ่งสามารถใช้งานแบบแฮนด์ฟรีได้ 100% มาพร้อมกล้องและจอภาพประสิทธิภาพสูงและยังติดเข้ากับหมวกนิรภัยได้ ด้วยอุปกรณ์นี้วิศวกรในไทยสามารถไลฟ์ถ่ายทอดภาพได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงการแชร์รูปภาพ วีดีโอต่าง ๆ ที่ถ่ายไว้ให้กับฝั่งญี่ปุ่นได้ทันที โดยการใช้งานที่ไม่มีอะไรยุ่งยากเพียงสั่งงานด้วยเสียงของผู้ใช้เท่านั้น เพราะ RealWear มีฟังก์ชันการจดจำและเข้าใจเสียงคำสั่งที่ยอดเยี่ยม ทำให้สามารถใช้งานต่าง ๆ แบบแฮนด์ฟรีได้อย่างสมบูรณ์ และภาษาที่ใช้ได้ไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษเท่านั้นแต่ยังสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทยได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับแบตเตอรี่ความจุสูงสามารถใช้งานได้นานหลายชั่วโมงต่อเนื่อง เหมาะกับการใช้ในกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากหรือกินเวลานานอย่างการประชุมออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย

อีกโซลูชั่นอัจฉริยะหนึ่งที่แนะนำคือ คือ “AVATOUR (อวาทัวร์)” ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่สามารถไลฟ์ถ่ายทอดวีดีโอ 360 องศา ของสถานที่นั้น ๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพียงมีกล้อง 360 องศา ที่มีจำหน่ายทั่วไปและสมาร์ทโฟนเพื่อรับส่งข้อมูลก็สามารถเริ่มการไลฟ์ได้อย่างง่ายดาย ฝั่งผู้เข้าชมก็ยิ่งง่าย เพราะสามารถรับชมวิดีโอ 360 องศานี้ผ่านบราวเซอร์ของคอมพิวเตอร์ทั่วไป และหากสามารถใช้แว่นตา VR ที่หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ก็จะได้รับประสบการณ์การรับชมวิดีโอแบบ 360 องศา ที่สมจริงยิ่งขึ้น ด้วยโซลูชั่น AVATOUR นี้ วิศวกรหรือเทรนเนอร์ที่อยู่ในญี่ปุ่นสามารถเลือกดูมุมมองของภาพ 360 องศา ที่ถ่ายทอดมาจากไซต์งานฝั่งไทยได้อย่างอิสระ และให้คำแนะนำที่เหมาะสมได้เหมือนสอนอยู่ในไทย

นอกจากนี้ การถ่ายภาพทางอากาศด้วยโดรน รวมถึงการผนวกการรับส่งข้อความแบบเรียลไทม์เข้ากับการถ่ายทอดภาพจากโดรนด้วยเทคโนโลยีเฉพาะของ Docomo ก็ช่วยให้การแชร์ข้อมูลระหว่างญี่ปุ่นและไทยเป็นไปอย่างราบรื่น ทำให้การทำงานเช่น การเยี่ยมชมหรือตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างโรงงาน ที่อยู่อาศัย หรือสภาพแวดล้อมโดยรอบ หรือการตรวจสอบการเสื่อมสภาพตามอายุภายในปล่องไฟหรือท่อของโรงไฟฟ้า สามารถทำผ่านระบบทางไกลได้ นอกจากนี้ ด้วยการเชื่อมภาพที่โดรนถ่ายเข้ากับระบบวิเคราะห์ภาพ ทำให้การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ หรือการตรวจจับความผิดปกติต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ง่ายดายขึ้นจากผู้เชียวชาญที่ถึงแม้จะอยู่ในญี่ปุ่น เป็นประโยชน์ในการหาแนวทางการปรับปรุงที่เหมาะสมและการป้องกันที่ดีขึ้นได้   สิ่งที่สนับสนุนการทำงานเหล่านี้คือเครือข่ายการสื่อสาร 5G ในประเทศไทยที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา นอกจากเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ขณะนี้แม้ในเขตชานเมืองด้านตะวันออกและภาคเหนือที่มีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่คลื่น5Gก็เริ่มครอบคลุมมากขึ้นด้วยความเร็วที่น่าทึ่ง ที่เร็วกว่า 4G (LTE) ถึง 100 เท่าอีกทั้งยังดีเลย์น้อย และมีความเสถียรสูง ก่อนหน้านี้ 5G เหมือนจะได้รับความสนใจเฉพาะเพื่อความบันเทิง เช่นการรองรับวิดีโอคุณภาพสูงทั้ง 4K และ 8K แต่การใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยก็กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

■ ต่อยอดจากความต้องการของลูกค้า

บริการการฝึกอบรมระยะไกลแบบเรียลไทม์ 5G และโซลูชั่นช่วยการทำงานระยะไกล เป็นธุรกิจใหม่ที่ บริษัท Mobile Innovation กำลังทำตลาดในไทยและประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากเสียงจากบริษัทลูกค้าที่ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จนทำให้การส่งผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นไปต่างประเทศไม่สามารถทำได้หรือเป็นเรื่องที่ยากมาก ด้วยเหตุนี้ Mobile Innovation จึงได้เริ่มบริการนี้อย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาของลูกค้า และตอนนี้นอกจากเป็นการแก้ปัญหาจากโควิด-19แล้ว บริการนี้ยังให้ผลดีทั้งในเรื่องการลดต้นทุนโดยรวม เช่น ลดจำนวนพนักงานญี่ปุ่นในสาขาต่างประเทศหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจากการเดินทาง รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมคาร์บอนต่ำ ซึ่งได้กลายเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญอันหนึ่งของการปกป้องสิ่งแวดล้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอีกด้วย คุณ Atsushi Teraoka ผู้จัดการอาวุโสของ Mobile Innovation กล่าวว่า “เราอยากให้บริการนี้เติบโตเป็นบริการที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่อง แม้หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19คลี่คลายลง”

Mobile Innovation เป็นบริษัทในเครือของ NTT DoCoMo ซึ่งเป็นบริษัทสื่อสารเคลื่อนที่รายใหญ่ของญี่ปุ่น โดยในประเทศไทย บริษัทให้บริการโซลูชั่น ICT เป็นหลัก ย้อนไปตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการในปี 2004 จุดเริ่มต้นของธุรกิจในไทยคือ การให้บริการ GPS (Global Positioning System) โดยจะติดตั้งอุปกรณ์ในรถเพื่อตรวจจับความผิดปกติของคนขับและรับรู้ข้อมูลตำแหน่งปัจจุบันของรถ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์และบริหารจัดการ ต่อมาได้ต่อยอดไปยังบริการอื่นอีกมากมายจนถึงปัจจุบันเช่น การประเมินบุคลากรจากข้อมูลการขับรถ หรือบริการเช่ารถตามน้ำหนักเป็นต้น

สิ่งที่เหมือนกันในหลาย ๆ บริการคือ มันเกิดขึ้นเพื่อตอบความต้องการของลูกค้า “จากบทสนทนาทั่ว ๆ ไปกับลูกค้า กลายเป็นแนวคิดซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและให้บริการใหม่ ๆ และทำให้เราไม่ได้เป็นแค่คนขายอุปกรณ์”คุณ Ryosuke Oshima ผู้จัดการฝ่ายขายกล่าว แม้ว่าปัจจุบันโอกาสการพบเจอกันจะน้อยลงมากเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ก็พยายามติดต่อทางอีเมลและโทรศัพท์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

■ พนักงานชาวไทยที่ได้รับการไว้วางใจ

พนักงานชาวไทยที่ได้รับการไว้วางใจเข้าร่วมในโซลูชันช่วยการทำงานระยะไกลแบบเรียลไทม์ที่คาดว่าจะเป็นเสาหลักใหม่ของบริษัท หนึ่งในนั้นคือ คุณปิยะ แต่รุ่งเรือง ที่ปรึกษาการขายอาวุโส เขาเคยเป็นวิศวกรระบบมาก่อน และเขายังมีประสบการณ์ด้านการตลาดดิจิทัลอีกด้วย ทำให้เขาได้รับความไว้วางใจให้เข้าร่วมในโปรเจ็คต์นี้เขากล่าวว่า “IoT หรือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต เป็นเทรนของสมัยนี้ เราต้องฟังเสียงของลูกค้าของเราและทำข้อเสนอที่เป็นประโยชน์มากขึ้น”

อริศรา นิมมาลา พนักงานหญิงที่ดูแลงานขายและการตลาด เป็นพนักงานระดับกลางที่อยู่ในบริษัทมา 7 ปี เธอเป็นหนึ่งในคนที่ตื่นเต้นกับศักยภาพของเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G เธอวิเคราะห์ว่า “ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ได้เปลี่ยนแปลงสังคมไทยอย่างมีนัยสำคัญ แนวโน้มนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงแม้หลังจากสถานการณ์จะกลับมาปกติ” ยิ่งไปกว่านั้นเธอกล่าวว่า “เราจะยังยึดมั่นในการรับฟังข้อกังวลและการปรึกษาหารือกับลูกค้าเป็นหลัก”เธอตั้งเป้าที่จะเปิดหาตลาดใหม่ ๆ ด้วยบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าต่อไป

MOBILE INNOVATION COMPANY LIMITED
No.128/224,227,228, 21st Floor, Payatai Plaza Building, Phayathai Road, Khet Rajthevee, Bangkok 10400
Mr. Piya Taerungruang (TH/EN) Tel: +66 (0) 89 881-0880 E-mail: piyat@mobileinnovation.co.th
Ms. Aritsara Ninmala (TH/EN) Tel: +66 (0) 81 648-6639 E-mail: aritsaran@mobileinnovation.co.th Tel: +66 (0) 2129-3800 Website: www.mobileinnovation.asia

2021年11月1日掲載

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事