GO!GO! タイローカル工場
第41回 PET樹脂製造工場 Indorama Ventures (IVL)
IVLの体系的なプラスチック・リサイクル工場 欧州の生産技術導入により大躍進
石油化学大手のインドラマ・ヴェンチャーズ(IVL)がこのたび、欧州最先端のプラスチック・リサイクル技術を披露した。リサイクル素材となるrPET、rHDPEの生産工場はナコンパトム県にあり、昨年は16億5000万個のペットボトルのリサイクルに成功した。これはタイの原油輸入において53万1269バレルの削減効果、二酸化炭素換算では1億1800万キロの削減効果がある。ペットボトルのリサイクルへの大きな可能性を開いた同社の事業は、「資源の有効利用による生産の循環」という国連の持続的開発のゴールにも合致する。同社のリチャード・ジョーンズ上級副社長は次のように語る。 「現在、当社の工場はオランダ、フランス、アメリカ、メキシコなど世界11ヵ所に展開しています。タイもその一環にあり、2014年にスタートしたナコンパトムの工場は、タイで最初に欧州の生産技術を導入した工場となりました」 同社はタイにおいて、ペットボトルを完璧にリサイクル素材に還元することに成功。ペットボトルをゴミとして無駄に捨てないという道を開いたことにより、パッケージ生産の供給源が増え、バリューチェーンを通じての利益にもつながり、プラスチックは価値ある物として他のゴミから選別される存在となった。 ナコンパトム県の工場では、プラスチックボトル、プラスチック繊維に付いたプラスチック粒などをリサイクルする事業(rPET)をしている。ポリエステル繊維は年産12万トン、プラスチック粒は年産2.9万トンあり、衣服、テキスタイル産業をはじめ各方面の顧客ニーズを満たしている。同工場のアニウェート・ティワーリー工場長は次のように語る。 「搬入されるペットボトルは1日に100トン以上が品質検査を経て、生産工程に載せられます。品質検査では異質なボトルはすべてはねられ、精密に等級化がなされ、等級ごとに摂氏185~300℃で溶融されます。当工場でリサイクルされたプラスチックは最高品質が守られており、国際標準のパッケージ素材として定評があります」 環境面にも配慮しており、ペットボトル以外の各種プラスチックの投入についても、HDPEボトル、PPラベルをはじめ研究が進んでいる。PVCラベルについては政府の指針に従い回収会社を利用しており、現在、回収されたラベルの処理方法の研究も進めている。また同工場は、廃水処理後のリサイクル水資源を実用化しており、工場で使う水の80%をリサイクル水でまかなっている。 IVLは、2025年には年間75万個のペットボトルを処理する目標を立てた。これは、取締役会がペットボトルからのリサイクル素材(rPET)の使用を増やす方針を打ち出したことによる。食品向け、飲料向けパッケージ素材として使用するプラスチック素材の25%をrPETでまかなう方針だ。
2019年12月1日掲載
IVL โชว์ศักยภาพโรงงานรีไซเคิลพลาสติกครบวงจร
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก โชว์ศักยภาพเทคโนโลยีล้ำหน้าจากยุโรปในการ
รีไซเคิลพลาสติกครบวงจรสู่ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกรีไซเคิล rPET และ rHDPE ที่โรงงานในจังหวัดนครปฐม โดยในปี 2561 สามารถรีไซเคิลขวดพลาสติก PET ได้ถึง 1.65 พันล้านขวด ช่วยประเทศไทยลดการใช้น้ำมันดิบกว่า 531,269 บาร์เรล ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 118 ล้านกิโลกรัม ลดปริมาณของเสียประเภทพลาสติก PET ที่ถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบเพื่อกำจัดและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า คุณริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร ความยั่งยืน และทรัพยากรบุคคล บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
เปิดเผยว่า “ปัจจุบันอินโดรามาเวนเจอร์ส มีโรงงานรีไซเคิล 11 แห่งทั่วโลก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก รวมถึงโรงงานรีไซเคิลในประเทศไทย ซึ่งไอวีแอลได้ก่อตั้งโรงงานรีไซเคิลโพลีเอสเตอร์และพลาสติก PET ครบวงจรในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2557 และเป็นโรงงานรีไซเคิลแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตจากยุโรป ภายใต้บริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จังหวัดนครปฐม คุณอนิเวช ติวารี หัวหน้าโรงงานอินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ นครปฐม กล่าวว่า “โรงงานรีไซเคิลที่จังหวัดนครปฐมดำเนินธุรกิจรีไซเคิลขวดพลาสติก ผลิตเส้นใยและเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET) โดยมีกำลังผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ 120,000 ตันต่อปี และเม็ดพลาสติกรีไซเคิล 29,000 ตันต่อปี เพื่อรองรับลูกค้าในตลาดหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เส้นใย และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ในแต่ละวันขวดพลาสติก PET ที่ถูกอัดเป็นก้อนขนาดใหญ่และผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว
กว่า 100 ตัน จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลของโรงงานแห่งนี้ โดยนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้วมาคัดแยกนำสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดออก แล้วล้างทำความสะอาดขวดพลาสติกหลายขั้นตอน พร้อมทั้งกำจัดเชื้อโรคและขจัดสิ่งปนเปื้อน จากนั้นขวดพลาสติก PET จะถูกสับให้ละเอียดเป็นเกล็ดพลาสติก เพื่อนำเกล็ดพลาสติกเหล่านั้นไปหลอมด้วยความร้อนสูงถึง 285-300 องศาเซลเซียส เพื่อให้ได้เม็ดพลาสติก PET รีไซเคิลคุณภาพสูงสุด จึงทำให้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจากโรงงานของอินโดรามา เวนเจอร์ส ในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และส่งออกเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่มไปจำหน่ายในหลายประเทศ ทั้งนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้ตั้งเป้าหมายการรีไซเคิลขวดพลาสติก PET เพิ่มขึ้นเป็น 750,000 ตัน ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งสอดคล้องกับคณะกรรมาธิการยุโรปที่ประกาศเป้าหมายที่จะให้เพิ่มสัดส่วนการใช้เม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET) เป็นร้อยละ 25 ของเม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม ภายในปี พ.ศ. 2568